วันที่ 23 พฤศจิกายน 2024

“วราวุธ” เผย ครม. อนุมัติงบกลาง กว่า 400 ล้าน ให้ พม. จ่ายค่าจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี ที่ค้างจ่ายเกือบ 1.4 แสนราย

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 24 กันยายน 2567 “วราวุธ” เผยมติ ครม. อนุมัติงบกลาง กว่า 400 ล้านบาท ให้ พม. จ่ายค่าจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี ที่ค้างมาระยะหนึ่งแล้ว

ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ ว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ขอบคุณทางคณะรัฐมนตรีที่ได้มีมติอนุมัติเงินจากงบกลางสำหรับโครงการสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งค้างจ่ายอยู่มาระยะเวลาหนึ่งแล้ว และสถานะล่าสุด เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 มีการค้างจ่ายอยู่ประมาณ 138,832 ราย ที่ผู้สูงอายุเสียชีวิตแล้วจะต้องได้รับค่าจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี ในการนี้จาก 138,832 ราย ทางคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณจากงบกลาง เป็นจำนวนเงิน 416,496,000 บาท ในการที่จะจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ในส่วนของงบประมาณประจำปี 2568 นั้น เราได้ของบประมาณไปแล้ว แต่จากตัวเลขที่มีการเพิ่มขึ้นลดลงของจำนวนผู้สูงอายุที่เสียชีวิตนั้น อาจจะทำให้งบประมาณยังไม่ครบในส่วนของงบประมาณประจำปี 2568 ซึ่งจะทำการของบประมาณในช่วงของปีหน้าเพื่อสมทบให้ครบตามจำนวนต่อไป แต่เบื้องต้นในส่วนของงบประมาณประจำปี 2567 นี้ เรามีความยินดีที่จะได้แจ้งข่าวให้กับพี่น้องประชาชนว่าค่าจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีนั้น ขณะนี้ทางรัฐบาล โดยคณะรัฐมนตรี และกระทรวง พม. ได้รับเงินอุดหนุนจากงบกลางมาเรียบร้อยแล้ว และจะเร่งจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนทั่วประเทศภายในเร็วๆ นี้

Advertisement

เล็งขยายพื้นที่ฟอกไตให้ประชาชนเข้าถึงบริการ

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 19 กันยายน 2567 รัฐสภา – “สมศักดิ์” กางหลักฐานทางการแพทย์ ยัน กินน้ำท่อมไม่ใช่สาเหตุไตวายในวัยรุ่น เล็งขยายพื้นที่ฟอกไตให้ประชาชนเข้าถึงบริการ คู่ขนานกับการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เตรียมผลักดันโครงการ “อสม.ช่วยสังคมไทยห่างไกล NCD”

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าชี้แจงกระทู้ถามแยกต่อสภาผู้แทนราษฎรในประเด็นแนวทางการแก้ไขโรคไตเสื่อมในวัยรุ่น ที่เกิดจากการบริโภคใบกระท่อมและน้ำกระท่อม ที่ถามโดย สส.นายประสิทธิ สส.ปทุมธานี พรรคประชาชน โดยมีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาคนที่ 1 ทำหน้าที่ประธาน

โดยนายสมศักดิ์ ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ชัดเจนบ่งบอกว่าการดื่มน้ำใบกระท่อมทำให้เกิดไตวาย เนื่องจากคนที่มีภาวะไตวายกับมีประวัติการดื่มน้ำกระท่อมเกือบทุกคนมีการใช้ยาเสพติดและสารเคมีอื่นร่วมด้วย การศึกษาพบว่าการรับสารเกินขนาดทำให้เกิดกล้ามเนื้อสลาย และทำให้การทำงานของไต ตับ ล้มเหลวตามมาได้ รวมถึงการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ใบกระท่อมเป็นระยะ 11 ปี จำนวน 88 คน เทียบกับกับปกติ 83 คน อาจทำให้โปรตีนรั่วทางปัสสาวะ ซึ่งบ่งบอกว่าการทำงานผิดปกติแต่ไม่เกิดกับไตหรือไตวาย นอกจากนี้จำนวนผู้ที่ป่วยไตวายในช่วงวัยรุ่นไม่ได้เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่วนข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับโรคไตในวัยรุ่น ไตอักเสบ อาจมาจากการได้รับสารเคมีที่เป็นพิษกับตับ ไต เช่น การใช้ยาไม่ถูกวิธี กลุ่มยาแก้ปวดไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนคขนาดสูงและต่อเนื่องหลายสัปดาห์ โรคพันธุกรรมบางชนิด

ส่วนคำถามกรณี กระทรวงสาธารณสุขมีแนวทางการขยายจำนวนและกระจายศูนย์ให้บริการการฟอกไตเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปฟอกไตให้ประชาชนในพื้นที่ทั่วประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร นายสมศักดิ์ กล่าวว่า การฟอกไตปริมาณมากขึ้นอย่างน่าตกใจ ปัจจุบันมีศูนย์ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจำนวนทั้งสิ้น 1,100 แห่ง ทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ครอบคลุม 12 เขตสุขภาพ กระจายทุกจังหวัด รวมถึงมีอายุรแพทย์โรคไตทุกเขตสุขภาพ ขยายบริการฟอกไตในโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย โดยมีแผน เพิ่มการผลิตพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านไตเทียม รองรับการขยายตัวของ แผนการมีหน่วยไตเทียมในโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายที่รับผิดชอบ ประชากรมากกว่า 50,000 คน เพื่อกระจายการบริการให้ครอบคลุม ทั่วทุกพื้นที่ และทำให้เกิดระบบส่งต่อแบบไร้รอยต่อ เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการเดินทางไปฟอกไต และมีโครงการเพิ่มการปลูกถ่ายไต โดยทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ จะประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ การฟอกไตโดยไปที่ศูนย์ และการล้างไตทางช่องท้อง ใช้งบประปีละ 2.5 หมื่นล้านบาท – 3.1 หมื่นล้านบาท นี่คือปัญหาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs ใช้งบประมาณมากที่สุด 1.3 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามยังพบสาเหตุโรคไตวายเรื้อรังเกิดจาก เบาหวานและความดันโลหิตถึงร้อยละ 60 กระทรวงฯ กำลังจะทำโครงการอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) ช่วยสังคมไทยห่างไกล NCDs ซึ่งกระจายทั่วประเทศ

จากนั้น นายธัญธร ธนินวัฒนาธร สส.กทม.พรรคประชาชน ตั้งกระทู้เรื่อง กระทรวงสาธารณสุขได้มีการพิจารณาถึงความจำเป็นในการให้วัคซีนไข้เลือดออกกับประชาชนที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาแล้วหรือไม่ ผลการศึกษาเป็นอย่างไร นายสมศักดิ์ชี้แจงว่า อยุ่ระหว่างการศึกษาพิจารณาความจำเป็น ปลอดภัย ความคุ้มค่า ของงบประมาณ ไข้เลือดออกที่ระบาดในประเทศไทยมี 4 สายพันธุ์ มีวัคซีนที่ได้ขึ้นทะเบียนในไทยแล้วจำนวน 2 ชนิด แม้ว่าจะมีส่วนดี แต่ยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ในการป้องกันในบางสายพันธุ์ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลประสิทธิภาพการป้องกันโรคไข้เลือดออกแยกรายสายพันธุ์เพิ่มเติมก่อน การนำมาใช้ในประชาชนในวงกว้างจำเป็นต้องพิจารณาในทุกมิติอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะประเด็นความปลอดภัย

Advertisement

นายกฯ มอบนโยบาย ป.ป.ส. แก้ปัญหายาเสพติด 1 ใน 10 นโยบายเร่งด่วน ดำเนินการทันที ขยายผลทั่วไทย-ตรวจเข้มชายแดน

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 18 กันยายน 2567 นายกฯ นั่งหัวโต๊ะ ป.ป.ส. เดินหน้าแก้ปัญหายาเสพติด 1 ใน 10 นโยบายเร่งด่วน ประกาศวาระแห่งชาติ ดำเนินการทันที เล็งขยายผลทั่วไทย-ตรวจเข้มชายแดน

วันนี้ (18 กันยายน 2567) เวลา 13.40 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบนโยบายในการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ครั้งที่ 2/2567 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีเเละรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  พล.ต.ท. ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และ พล.ต.อ.ไกรบุญ ทรวดทรง จเรตํารวจเเห่งชาติ ตัวแทนผู้บัญชาการเหล่าทัพ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย

นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดการประชุมว่า รู้สึกดีใจที่ได้ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพราะปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องที่สำคัญของประเทศ และเป็นพื้นฐานที่จะไปพัฒนาเศรษฐกิจต่อไปได้ ซึ่งเรื่องยาเสพติดจำเป็นที่ต้องดูแลอย่างดี หลังจากการลงพื้นที่หลายจังหวัดได้รับเสียงสะท้อนในเรื่องปัญหายาเสพติดมาโดยตลอด ทั้งจาก ส.ส. ประชาชน ถือว่าเป็นปัญหาที่หนักหน่วง ทำลายเรื่องของสุขภาพจิตและสร้างปัญหาครอบครัว ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็น 1 ใน 10 นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการทันที โดยจะขยายผลการดำเนินการของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กำหนดให้การป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระเเห่งชาติ

นายกรัฐมนตรียังได้ติดตามผลการดำเนินตั้งแต่มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2567 ในพื้นที่ 25 จังหวัด  ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร  ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ ภาคกลาง ได้แก่ สมุทรปราการ ชลบุรี และกาญจนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา กาฬสินธุ์ อุดรธานี นครพนม มหาสารคาม ร้อยเอ็ด หนองคาย มุกดาหาร สกลนคร หนองบัวลำภู เลย บึงกาฬ และ ขอนแก่น  ภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล ซึ่งจากการวัดผลพบว่าทุกคนร่วมมืออย่างทุ่มเท จริงจัง ต้องขอบคุณทุกภาคส่วน ภาครัฐ หน่วยงานความมั่นคง หน่วยงานปกครอง รวมทั้ง ป.ป.ส. ที่ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ อีกทั้งจากผลการสำรวจความพอใจจากประชาชนใน 25 จังหวัดดังกล่าวยังพบว่ามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งได้ทราบว่าสามารถจับผู้ผลิตรายใหญ่ได้หลายราย ทำให้รายเล็กโดนจับด้วย ส่งผลให้ประชาชนมีความปลอดภัยมากขึ้นและพึงพอใจมากขึ้น

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำอยากจะให้จัดเฟสรีบขยายจำนวนจังหวัดให้เร็วขึ้นจะได้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพราะยังมีอีกหลายจังหวัดขอความช่วยเหลือเรื่องนี้ ซึ่งจะต้องดำเนินการต่ออย่างเข้มแข็ง และดูตัวอย่างพื้นที่ที่ทำไปแล้ว เช่น ธวัชบุรีโมเดล จ.ร้อยเอ็ด และท่าวังผาโมเดล จ.น่าน เมื่อดำเนินการแล้วถือเป็นสิ่งที่ทำแล้วได้ผลมาก รวมถึงประเด็นปัญหาชายเเดน ที่จะต้องป้องกันอย่างเข้มงวด เพื่อทำให้ยาเสพติดจากประเทศอื่นไม่เข้ามาในประเทศ อีกทั้งยังมีการมอบยุทโธปกรณ์ให้กับเจ้าหน้าที่ เช่น กล้องไนท์วิชั่น รถ 4WD เพื่อให้การจับกุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดความปลอดภัยมากขึ้น โดยจะดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวต่อไป และจะนำบทเรียนที่ประสบความสำเร็จใน 25 จังหวัดที่ผ่านมามาดำเนินการต่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  “อะไรที่ทำแล้ว เกิดประโยชน์ก็ทำต่อไป” หรือทำให้ขั้นตอนต่าง ๆ สั้นลงเพื่อให้มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้ มุ่งเน้นการปราบปราม และบำบัดเยียวยา ตลอดจนทำให้ผู้เสพสามารถกลับคืนเข้าสู่สังคมได้ และพร้อมประกอบอาชีพหลังจากบำบัดยาเสพติดจนหายแล้ว

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ยังได้เน้นย้ำให้มีความชัดเจนในส่วนของการ Re-X-ray คนนอกระบบประมาณ 200,000  คน ซึ่งรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ และการศึกษาในเรือนจำ ที่พบว่าคนที่มีเปอเซนต์ติดยาเสพติดคือคนที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา จึงอยากให้มีการทำแผนตั้งโมเดลขึ้นมาพิจารณาช่วยกัน เพื่อขยายผลเรื่องนี้ซึ่งสามารถต่อยอดนโยบายการศึกษา Zero Dropout ได้ พร้อมทั้งนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้สังคมและประชาชนในกระบวนการแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งการสื่อสารไม่ใช่แค่การแสดงผลงาน แต่เป็นการสร้างความระมัดระวังให้สังคม ว่ารัฐบาลทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมถึงการป้องกันปราบปรามยาเสพติดไปแล้วจริง ๆ เท่าไหร่

“อยากได้ภาพรวมสรุปทั้งกระบวนการ จับแล้วกี่ราย ยาเสพติดที่จับแล้วไปไหน เพื่อตอบสังคมให้ได้ว่ามีการทำลายยาเสพติดอย่างไร  มีการบันทึกอะไรบ้างที่ตอบข้อสงสัยของประชาชน  อีกทั้งในเรื่องของการยึดทรัพย์ ขอให้ทำเป็นระเบียบให้ชัดเจน ทำอย่างจริงจัง แต่จะยึดเเค่ไหน ตัวกำหนดเป็นอย่างไรจะมีการคุยกันอีกที” นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำ

สำหรับที่ประชุมได้มีการหารือและพิจารณาประเด็นสำคัญ ดังนี้ (1) เห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ระดับจังหวัดปีงบประมาณ พ.ศ. 2568  โดย 25 จังหวัดเร่งด่วน ขยายการปฏิบัติ 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร 8 เป้าหมาย ดำเนินการ 5 จุดเน้นการปฏิบัติ 15 แนวทาง 4 ตัวชี้วัด ภาพรวม  Re-xray  (2) เห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการดำเนินงานป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นคำสั่งเดิมที่นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการ (3) เห็นชอบการกำหนดพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนพื้นที่เพิ่มเติม โดยขออนุมัติประกาศพื้นที่ปฏิบัติการเพิ่มเติม ในปี 2568 พื้นที่ในจังหวัดตาก 3 อำเภอชายแดน ได้แก่ อ.อุ้มผาง อ.แม่ระมาด และอ.ท่าสองยาง เพิ่มเติมจากพื้นที่เดิม 2 อำเภอ คือ อ.พบพระ และ อ.แม่สอด รวมทั้งจัดตั้ง “หน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคเหนือ (นบ.ยส.35) และชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  (นบ.ยส.24)

ทั้งนี้ให้ฝ่ายเลขานุการ (สำนักงาน ป.ป.ส) จัดทำร่างประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่องกำหนดพื้นที่ความจำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เสนอประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดลงนามต่อไป

Advertisement

“พรหมินทร์” เลขาฯ นายกฯ เผยบทความ The Economist ชื่นชมระบบสาธารณสุขไทยมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 13 กันยายน 2567 “พรหมินทร์” เลขาฯ นายกฯ เผยบทความ The Economist “Why is Thai health care so good?” ชื่นชมระบบสาธารณสุขไทยมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก รากฐานจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค

วันนี้ (13 กันยายน 2567) นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นิตยสารด้านเศรษฐกิจโลก The Economist ลงบทความเกี่ยวกับประเทศไทยหัวข้อ Why is Thai health care so good? (https://www.economist.com/asia/2024/07/04/why-is-thai-health-care-so-good) ชื่นชมระบบสาธารณสุขของไทย ระบุว่าระบบดูแลสุขภาพของไทยมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท ที่ริเริ่มครั้งใหญ่ นำมาใช้เมื่อปี 2545 ทั้งนี้ หลายประเทศต้องการนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยไปใช้

โดยบทความระบุว่า ระบบสุขภาพไทยสามารถทำให้โดยเฉลี่ยคนไทยคาดหวังว่าจะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 80 ปี ซึ่งนานกว่าคนในภูมิภาค (ตัวเลขในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ 73 ปี) ซึ่งมากกว่าคนอเมริกันและยุโรปโดยเฉลี่ยเล็กน้อย (ประมาณ 79 ปี)

ซึ่งข้อมูลล่าสุดจากองค์การสหประชาชาติ ปีที่แล้ว (2566) ประชากร 99.5% ของประชากร 72 ล้านคนได้รับการคุ้มครองโดยประกันสุขภาพ โดยประเทศไทยประสบความสําเร็จในฐานะประเทศกําลังพัฒนาแม้มีรายได้ต่อคนอยู่ที่ประมาณ 7,000 ดอลลาร์ ซึ่งน้อยกว่ารายได้ของคนอเมริกา 11 เท่า

The Economist อธิบายถึงประสิทธิภาพของนโยบายสาธารณสุขของไทยว่า รัฐบาลไทยในปี 2545 ริเริ่มครั้งใหญ่ ผลักดันให้ระบบประกันสุขภาพมุ่งเป้าไปที่คนยากจน โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นโครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อดูแลผู้ที่ทํางานนอกระบบ และทำงานเอกชน ซึ่งให้การดูแลสุขภาพแก่คนยากจน และจ่ายค่าธรรมเนียมเพียง 30 บาท (1 ดอลลาร์) ซึ่งมีการศึกษาอ้างอิงพบว่า ระหว่างปี 2543 – 2545 อัตราการเสียชีวิตของทารกลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งโครงการฯ ครอบคลุมการรักษาโรคที่หลากหลาย เน้นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน รวมทั้งในปัจจุบันโครงการฯ ได้ขยายความครอบคลุมไปยังการรักษาโรคต่าง ๆ ด้วย ตั้งแต่โรคเอดส์ (HIV/AIDS) ไปจนถึงโรคไต

ซึ่งทำให้โครงการนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ช่วยเพิ่มความนิยมให้กับนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยเป็นนโยบายที่ไม่มีรัฐบาลใดกล้าที่จะแก้ไข แต่ขยายความครอบคลุมการรักษาโรคออกไป อีกประเด็นที่พิเศษคือ โครงการนี้ได้รับเงินทุนจากรายได้ภาษี แต่มีการควบคุมค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ หลายประเทศพยายามที่จะนำนโยบายหลักประกันสุขภาพของไทยไปใช้ โดยเมื่อต้นปีนี้ (2567) ซาอุดีอาระเบียได้ลงนามในข้อตกลงกับรัฐบาลไทยเพื่อร่วมมือในเรื่องสาธารณสุข รวมทั้ง คณะผู้แทนไทยได้เดินทางไปทั่วเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลางเช่นกัน ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีความท้าทายที่คนไทยมากกว่า 1 ใน 5 มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งสร้างความท้าทายให้กับระบบสาธารณสุขและการเงินของรัฐบาล โดยรัฐบาลพยายามเพิ่มจำนวนแพทย์ในภาครัฐ ในขณะเดียวกันมีการเปิดตัวนโยบายอื่นๆ เฉพาะสําหรับผู้สูงอายุ อย่างไรก็ดี การดูแลสุขภาพของไทยอาจยังคงเป็นแบบอย่างของโลก

Advertisement

รวบหนุ่มใหญ่สร้างโปรไฟล์ปลอมขอสินเชื่อแบงก์

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 29 สิงหาคม 2567 สืบนครบาล รวบ “โต้ง จอมตุ๋น” สร้างโปรไฟล์น่าเชื่อถือ นำสำเนารายการเดินบัญชีธนาคารและหนังสือรับรองเงินเดือนปลอม มาขอสินเชื่อ เสียหายกว่า 1.7 ล้านบาท

เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการจับกุมตัว นายอภินันท์ หรือโต้ง จอมตุ๋น” อายุ 51 ปี ตามหมายจับในความผิดฐาน “ฉ้อโกงและปลอมเอกสาร” โดยจับกุมได้หน้าร้านขายอะไหล่ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร พฤติการณ์การกระทำความผิด คือ นายอภินันท์ นำสำเนารายการเดินบัญชีธนาคาร และหนังสือรับรองเงินเดือนปลอมสร้างโปรไฟล์น่าเชื่อถือ มายื่นขอสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์กับทางธนาคารผู้เสียหายในคดี จนได้รับอนุมัติสินเชื่อไป ซึ่งตีเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 1,741,041 บาท แล้วบิดพริ้วหนีหาย ไม่มีการผ่อนชำระกับทางธนาคารแต่อย่างใด โดยพฤติกรรมของผู้ต้องหานั้นยากต่อการสืบสวนเป็นอย่างมาก ขาดการติดต่อในทุกช่องทาง และมีที่อยู่พักอาศัยไม่เป็นหลักแหล่ง แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนนครบาลได้สืบทราบว่าผู้ต้องหาได้หลบหนีทำงานพนักงานส่งสินค้าอยู่ที่ร้านขายอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ร้านหนึ่ง จึงได้ตามไปรวบทันควัน

ขณะจับกุมนายโต้ง ปฏิเสธ แต่เมื่อสอบถามแล้วจึงยอมรับว่าหลังจากรับเงินแล้วเอาเงินไปใช้หมดแล้ว จากนั้นได้นำตัวผู้ถูกจับกุมส่ง สน.ตลาดพลู ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

Advertisement

ศาลให้ประกัน “พล.ต.อ.สมยศ” คดีช่วย “บอส” นัดสอบ 10 ก.ย.นี้

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 29 สิงหาคม 2567 ศาลนัดสอบคําให้การ “พล.ต.อ.สมยศ” กับพวก ในวันที่ 10 ก.ย.นี้ คดีช่วยเหลือ “บอส” พ้นผิด ส่วนผู้ต้องหาทั้ง 8 คน อยู่ระหว่างทําเรื่องขอประกันตัว ยืนยันไม่มีวิ่งเต้นซํ้ารอยเดิม ล่าสุดศาลให้ประกัน “พล.ต.อ.สมยศ” แล้ว เป็นเงินสด 2 แสนบาท

นายสุเวช จอมพงค์ อัยการพิเศษ ฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 เปิดเผยความคืบหน้าภายหลังนําสํานวนพร้อมตัวของ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีต ผบ.ตร. กับพวกรวม 8 คน ส่งฟ้องศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง กรณีเปลี่ยนเเปลงความเร็วในคดีของ “บอส อยู่วิทยา” ที่ขับรถชน ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ เสียชีวิต ว่า วันนี้ผู้ต้องหาทั้ง 8 คน มาครบทุกคน ศาลทำการประทับรับฟ้องและพิมพ์ประวัติเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของการยื่นประกันตัว ซึ่งผู้ต้องหาทั้ง 8 ได้ยื่นขอประกันตัวทั้งหมด ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่ ส่วนหลักประกันตนไม่ทราบ ขึ้นอยู่กับอัตราโทษและฐานความผิด

เบื้องต้นคาดประมาณ 200,000 บาท สําหรับข้อหาที่ส่งฟ้องในวันนี้หลักๆ คือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และเป็นผู้สนับสนุน เนื่องจากผู้ต้องหาบางคนไม่ใช่ข้าราชการ ทําให้ข้อหาแตกต่างกันออกไป นอกเหนือจากคําฟ้องที่ยื่นศาลวันนี้ ได้นําเอกสารหลักฐานที่เป็นต้นฉบับประมาณ 9 ลังหรือมากกว่า 30 แฟ้ม พร้อมคําฟ้องที่ได้มาจาก ป.ป.ช. ยื่นให้ต่อศาลทั้งหมด

ส่วนในชั้นของพนักงานอัยการ เชื่อว่าสามารถเอาผิดผู้กระทําความผิดได้ แต่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล และหากสุดท้ายมีผู้ต้องหาหรือจําเลยบางคนได้รับผลบวกหรือศาลยกฟ้อง ทางอัยการสูงสุดก็จะมาพิจารณาว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ และหารือร่วมกับ ป.ป.ช.อีกครั้ง ซึ่งอัยการไม่เป็นห่วงในเรื่องของพยานหลักฐาน เพราะทางอัยการสูงสุดได้กลั่นกรองมาอย่างดีที่สุดแล้ว ซึ่งตามพยานหลักฐานที่ ป.ป.ช.ไต่สวน มีความสมบูรณ์มากเพียงพอ ส่วนศาลจะพิจารณาอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล และยืนยันว่าคดีนี้ไม่มีวิ่งเต้นอย่างแน่นอน

ส่วนคดีเก่าที่มีอัยการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องนั้นตนไม่ทราบเพราะเป็นคนละคดีกัน ทั้งนี้ ศาลนัดสอบคําให้การในวันที่ 10 กันยายน 2567 เวลา 09.30 น. ที่ ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง

ล่าสุดศาลให้ประกัน “พล.ต.อ.สมยศ” แล้ว เป็นเงินสด 2 แสนบาท ขณะเจ้าตัวอุบตอบแนวทางสู้คดี ปัดยืนยันความบริสุทธิ์ใจทุกอย่างขอให้ทนายเป็นคนดำเนินการ

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และนายเนตร นาคสุข กับพวกรวม 8 คน เดินทางมาที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง หลังอัยการนัดส่งฟ้องในคดีที่ พนักงานอัยการยื่นฟ้อง ตามมติของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ส่งมา ในกรณีเปลี่ยนแปลงสำนวนและลดความเร็วรถของนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือบอส ที่ขับรถชน ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 55

หลังอัยการยื่นฟ้อง ในเวลาต่อมา พล.ต.อ.สมยศ เปิดเผยว่า วันนี้ศาลให้ประกันตัวด้วยหลักทรัพย์เงินสด 2 แสนบาท หลังจากนี้จะมีแนวทางการต่อสู้คดีอย่างไรให้เป็นหน้าที่ของทนายความ ในชั้นนี้ไม่อยากแสดงความคิดเห็นอะไรมาก ทุกอย่างอยู่ในขอบอำนาจของศาล ต้องให้เกียรติผู้พิพากษา

เมื่อถามว่ายืนยันในความบริสุทธิ์ใจหรือไม่ พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ทนายต้องดำเนินการ

Advertisement

สตช. รับนโยบายรัฐบาลดิจิทัล ให้ประชาชนเช็คประวัติอาชญากรรมออนไลน์ด้วยตนเองได้แล้ว

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 2 สิงหาคม 2567 “เกณิกา” เผย สตช. รับนโยบายรัฐบาลดิจิทัล ลดความยุ่งยาก อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเช็คประวัติอาชญากรรมออนไลน์ด้วยตนเองเพื่อยื่นสมัครงานได้แล้ว

วันนี้ (2 ส.ค. 67) น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากนโยบายรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งเน้นให้หน่วยงานราชการ ลดความซับซ้อนการบริหารงานเอกสาร และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ซึ่งกองทะเบียนประวัติอาชญากร หรือ ทว. สังกัด สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สนองนโยบายของรัฐบาลด้วยเช่นกัน

ซึ่งจากเดิมได้เคยให้บริการตรวจสอบประวัติ ล่าสุดได้ประกาศเปลี่ยน URL เว็บไซด์ในการตรวจสอบประวัติด้วยชื่อ-สกุล-เลขประจำตัวประชาชนออนไลน์  เดิมใช้ www.crd-check.com  เป็น  www.crd.go.th  เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 67 เป็นต้นไป ด้วย ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ 2565 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ 2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2564 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐให้ใช้โดเมนเนม .go.th  เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการ โดยการบริการของ ทว.ยังสามารถตรวจประวัตินำไปใช้สมัครงานได้ด้วย

น.ส.เกณิกา กล่าวต่ออีกว่า การให้บริการในเว็บไซต์ ทว.ดังกล่าว ประชาชนสามารถดำเนินการได้ดังนี้

1.ขอตรวจสอบประวัติอาชญากร โดยกรอกข้อมูล ชื่อ-สกุล-หมายเลขประจำตัวประชาชน อัพโหลดบัตรประชาชนและรูปถือบัตรประชาชนข้างหน้า กดยืนยัน รอผลตรวจอนุมัติ 7-15 วันทำการ เมื่อ เข้าเช็คสถานะ ขึ้นว่าอนุมัติแล้ว  ประชาชนสามารถมาติดต่อรับผลการตรวจสอบได้ที่กรุงเทพฯ รับที่  ทว. หรือ ต่างจังหวัดรับที่ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1-10 และพฐ.จว.ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ

2.ตรวจสอบข้อมูลบุคคล ตามโครงการลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชน ว่าที่มีชื่ออยู่ในโครงการหรือไม่ โดยเป็นผู้ที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง  อัยการ/พงส.สั่งไม่ฟ้อง ฯลฯ

ส่วนประชาชนหรือบริษัทที่ต้องการตรวจสอบประวัติอาชญากร ด้วยลายพิมพ์นิ้วมือให้นำหนังสือนำส่งตัวมาพิมพ์มือ  สามารถติดต่อ พิมพ์มือได้ที่ กรุงเทพมหานครที่ ทว. ต่างจังหวัดติดต่อที่ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1-10 และพฐ.จว.ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ

Advertisement

นายกฯประชุมร่วมงานกับ UN โครงการ Road Safety รณรงค์สวมหมวกนิรภัย เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 1 สิงหาคม 2567 นายกฯ เป็นประธานการประชุมหารือการป้องกันความปลอดภัยบนท้องถนน ร่วมงานกับ UN ในโครงการ Road Safety รณรงค์สวมหมวกนิรภัยลดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน

วันนี้ (1 สิงหาคม 2567) เวลา 11.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเป็นเป็นประธานการประชุมหารือการป้องกันความปลอดภัยบนท้องถนน  โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายนิกร จำนง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รศ.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผศ.ดร.ธนพงศ์ อินทระ ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายธนันท์ชัย เมฆประเสริฐวนิช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงาน สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร  เข้าร่วมประชุมในวันนี้  นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้มีโอกาสพบปะกับนาย Jean Todt นักแข่งรถระดับโลก อดีตผู้บริหาร Ferrari และประธาน FIA ที่บ้านพักชานกรุงปารีส ได้พูดคุยถึงการนำการแข่งขัน Formula E ซึ่งเป็นการแข่งรถยนต์ไฟฟ้ามาจัดในประเทศไทย  ซึ่ง นาย Todt สนใจความร่วมมือและพร้อมสนับสนุนการจัดการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังหารือถึงโครงการ Road Safety ที่ได้รับการสนับสนุนจาก UN เพื่อลดอุบัติเหตุจากการใช้รถบนท้องถนนโดยการสวมหมวกนิรภัย ซึ่งประเทศไทยเรามีศักยภาพ และมีมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ อีกทั้งมีกฎหมายและข้อบังคับเพื่อความปลอดภัยหลายข้อ อาทิ การคาดเข็มขัด การสวมหมวกกันน็อค การห้ามดื่มแอลกอฮอล์ การควบคุมความเร็ว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลรณรงค์การสวมหมวกนิรภัยที่มีมาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญช่วยลดอุบัติเหตุจากการใช้รถบนท้องถนน และให้ความสำคัญถึงต้นแบบการผลิตหมวกนิรภัยที่มีมาตรฐานให้มีราคาที่เหมาะสม เพื่อทุกคนสามารถเข้าถึงได้  ซึ่งจากการพูดคุย ทำให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม โดยจะมีโครงการ UN Road Special Envoy for Road Safety  ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 – 6 พฤศจิกายนนี้ โดย นาย Todt จะร่วมกับรัฐบาลไทย เข้ามาร่วมทำกิจกรรมในประเทศไทย เพื่อรณรงค์การสร้างความปลอดภัยในการขับรถบนท้องถนนสาธารณะ (Public Safety) และยังจะมีการประสานกับกลุ่ม Ferrari Owners Clubs  และ Porsche ให้เข้ามาร่วมกันจัดไฮไลท์กิจกรรม Road Safety อีกด้วย

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึง การพัฒนากลไกแก้ไขปัญหาการบาดเจ็บ โดยศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานครด้วยการสร้างเยาวชนเป็นผู้นำลดอุบัติเหตุ “เด็กเริ่ม ผู้ใหญ่ร่วม” ผ่านการส่งเสริมพัฒนาความรู้ความเข้าใจจิตสำนึกปลุกพลังเยาวชนทราบร่วมสร้างถนนปลอดภัยทุกวัยไม่สูญเสีย

นอกจากนี้ โครงการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100% ของนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยกรุงเทพมหานคร ดังนี้  1) สำนักการจราจรและขนส่ง จัดทำโครงการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100% ของนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) สำนักการศึกษา จัดทำแนวทางการบริหารจัดการและส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) และกทม. ดำเนินการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100% ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยขอความร่วมมือภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยให้ร่วมดำเนินการ

สำหรับที่มาของโครงการ UN Road Special Envoy for Road Safety เป็นภารกิจขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่ได้เริ่มต้นการให้ความสำคัญกับการป้องกันความปลอดภัยบนท้องถนนตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 โดยในปี 2024 นี้ถือเป็นปีแรกที่ประเทศไทยได้มีการเข้าร่วมโครงการ ภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะ “Friend of the Special Envoy” โดยโครงการดังกล่าว กล่าวถึงความปลอดภัยบนท้องถนนที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยของการเดินถนน หรือการใช้ยานพาหนะ ซึ่งสาระสำคัญหลักที่โครงการ Road Safety ได้มุ่งเน้นมี 6 ด้านเกี่ยวกับความปลอดภัยบนท้องถนน อาทิ 1. การคาดเข็มขัดนิรภัยระหว่างขับรถ 2. การจำกัดความเร็วในการขับรถ 3. การใช้หมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานและผ่านการทดสอบของ UN ในการขับขี่รถจักรยานยนต์ 4. ไม่ขับรถระหว่างดื่มแอลกอฮอล์ 5. ไม่ขับรถ หากเหนื่อยหรือง่วงนอน 6. ไม่ใช้โทรศัพท์ในระหว่างขับรถ

Advertisement

แนะ ปชช.ดาวน์โหลดแอป “ทางรัฐ” แอปที่รวบรวมบริการภาครัฐไว้มากที่สุดกว่า 83 บริการ

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 27 กรกฎาคม 2567 “คารม” แนะนำประชาชนดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” แอปที่รวบรวมบริการของภาครัฐไว้มากที่สุดกว่า 83 บริการ สะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลา

วันนี้ (27 กรกฎาคม 2567) นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แนะนำประชาชนใช้แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ซึ่งเป็นแอปที่รวบรวมบริการของภาครัฐไว้มากที่สุด เป็นเสมือนศูนย์กลางบริการของภาครัฐที่มีให้เลือกใช้กว่า 83 บริการในแอปเดียว โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรมากมายรวมทุกยูนิเวิร์สการให้บริการภาครัฐมารวมไว้แบบไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง หรือต้องไปรอต่อคิวที่หน่วยงาน ไม่ว่าจะจ่ายค่าน้ำ, ค่าไฟ, แจ้งเตือนใบขับขี่หมดอายุ, แจ้งเตือนวันต่อภาษีรถยนต์, ตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล, สิทธิประกันสังคม, เช็คเงินสะสมประกันสังคม, ไปจนถึงจ่ายค่าปรับใบสั่งคุณตำรวจ และในอนาคตจะมีเพิ่มบริการมากขึ้นอีกเรื่อยๆ โดยที่ไม่ต้องจำเว็บหรือแอปอื่นให้วุ่นวาย

นายคารม กล่าวว่า การลงทะเบียน ด้วยความที่เป็นบริการที่ต้องเชื่อมข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆ จึงจะต้องมีการยืนยันตัวตนหลายระดับ ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นได้เลยว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นจะเก็บเพื่อให้บริการได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565 ดังนั้นจึงมั่นใจเรื่องความปลอดภัยในการจัดการข้อมูลได้อย่างแน่นอน สำหรับการลงทะเบียนนั้นแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” จะมีการยืนยันตัวตน 2 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 การยืนยันตัวผ่านการถ่ายบัตรประชาชนลงในแอปพลิเคชัน ในการยืนยันตัวตนนี้จะสามารถใช้บริการตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐได้ทันที ซึ่งขั้นตอนนี้ง่ายมาก เพียงถ่ายรูปบัตรประชาชน และถ่ายภาพหน้าตรงตามขั้นตอนที่ระบุในแอปพลิเคชัน ก็สามารถเข้าใช้งานบริการได้เลย

ระดับที่ 2 การยืนยันตัวตนผ่านทางจุดให้บริการยืนยันตัวตน สำหรับในบางบริการที่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องพิสูจน์ตัวตนเพิ่มเติม อย่างเช่น การตรวจสอบเครดิตบูโร ทางแอปพลิเคชันจะต้องขอยกระดับการพิสูจน์ตัวตนเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการยืนยันว่าเจ้าของบัตรประชาชนกับผู้ที่ยืนยันตัวตนเป็นคนเดียวกัน

โดยการยืนยันตัวตนนั้นสามารถทำได้ผ่าน 5 ช่องทางดังนี้

1.ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ จะเป็นตู้คีออส ที่ให้บริการทั้งด้านข้อมูลและการลงทะเบียนต่างๆ ซึ่งตู้นี้จะสามารถใช้ในการยืนยันตัวตนกับแอปพลิเคชัน ทางรัฐ ได้ โดยจะต้องเตรียมบัตรประชาชนและโทรศัพท์มือถือเพื่อดำเนินการยืนยันตัวตน เมื่อได้ยืนยันตัวตนตามขั้นตอนที่แจ้งผ่านตู้แล้ว จะได้รับ QR Code เพื่อสแกนใช้งานแอปพลิเคชันทางรัฐ ถือว่าการยืนยันเสร็จเรียบร้อยภายในเวลาแปบเดียว สำหรับวิธีการยืนยันตัวตนผ่านตู้บริการเอนกประสงค์ของภาครัฐ ทำได้โดยการเตรียมบัตรประชาชนให้พร้อม จากนั้นเสียบบัตรเข้าไปที่ตู้บริการ เลือกเมนูเปิดใช้งาน “ทางรัฐ” แล้วทำตามวิธีบนหน้าจอ เท่านั้นก็สามารถยืนยันตัวได้เรียบร้อย

2.แอปพลิเคชันจากกรมการปกครอง ที่พัฒนาขึ้นเพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ในชื่อว่า D.DOPA ก็เป็นอีกช่องทางที่สามารถยืนยันตัวได้ง่ายๆ นอกจากจะใช้ยืนยันตัวตนกับแอปทางรัฐแล้ว แอปนี้ยังสามารถจองคิวใช้บริการกับทางภาครัฐอย่างสำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นทั่วประเทศได้อีกด้วย สำหรับการยืนยันตัวตนแอปทางรัฐด้วย D.DOPA หากเคยลงทะเบียนใช้บริการกับทางแอป D.DOPA ก็สามารถลงทะเบียน “ทางรัฐ” ด้วยการกดที่ปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย D.DOPA” ได้เลย

3.ตู้บุญเติม เป็นอีกช่องทางที่สะดวกยิ่งขึ้นด้วยการยืนยันตัวตนผ่านตู้บุญเติม เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้สังเกตตู้บุญเติมที่มีกล้องเล็กๆ ติดอยู่ที่ด้านบนของตู้ จะมีให้บริการยืนยันตัวตน e-KYC ซึ่งปัจจุบันมีให้บริการกว่า 2,000 จุดทั่วประเทศ วิธีการยืนยันตัวตนผ่านตู้บุญเติม เพียงแค่เตรียมบัตรประชาชนและโทรศัพท์มือถือให้พร้อม จากนั้นเลือกเมนู “ทางรัฐ” บนหน้าจอ ตู้ก็จะแนะนำให้เสียบบัตรประชาชนเพื่อยืนยันตัวตน และระบบจะส่ง SMS เพื่อดำเนินการต่อในแอปพลิเคชันทางรัฐได้ทันที สำหรับตู้บุญเติมได้มีการเปิดให้บริการทั่วประเทศ โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับตู้บุญเติมใกล้บ้านได้ทาง Call Center 1220 หรือสามารถตรวจสอบตู้บุญเติมที่สามารถยืนยันตัวตนใกล้บ้าน ได้ที่เมนู “สมัครที่ตู้บุญเติม” บนแอปทางรัฐ

4.ไปรษณีย์ไทยทุกสาขา เราสามารถยืนยันตัวตนได้ผ่านที่ทำการไปรษณีย์ไทยทุกสาขา โดยเตรียมบัตรประชาชนและโทรศัพท์มือถือ และแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์ได้เลยว่าต้องการยืนยันตัวตันแอปพลิเคชันทางรัฐ หลังจากนั้นจะได้รับ SMS ที่ส่งลิงก์เพื่อให้ดำเนินการต่อทางแอป เท่านี้ก็ดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยทันที

และ 5. เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-Eleven ช่องทางใหม่ที่เพิ่งเปิดให้ยืนยันตัวตน ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 ที่มีกว่า 13,000 สาขาทั่วประเทศ ก็สามารถยืนยันตัวตนแอปฯ ทางรัฐได้ เพียงกดที่เมนู “ยืนยันตัวตนที่ 7-Eleven” ระบบจะให้เราระบุเลขบัตรประชาชน และ หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อสร้างเป็น QR Code จากนั้นแจ้งกับพนักงานที่สาขาว่าต้องการยืนยันตัวตนแอป “ทางรัฐ” พนักงานก็จะสแกน QR Code ซึ่งระบบจะส่ง SMS เพื่อให้เรายืนยันตัวตนผ่านทางแอป “ทางรัฐ” เท่านี้การยืนยันตัวตนก็เสร็จเรียบร้อย

Advertisement

สธ. เผยผลสำเร็จ อสม. ปักหมุดแอป “พ้นภัย” เข้าพื้นที่ค้นหาดูแลกลุ่มเปราะบางทั่วไทยแล้วกว่าร้อยละ 90

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 24 กรกฎาคม 2567 สธ. เผยผลสำเร็จ อสม. ปักหมุดแอป “พ้นภัย” เข้าพื้นที่ค้นหาดูแลกลุ่มเปราะบางทั่วไทยแล้วกว่าร้อยละ 90

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการ อสม. ทั่วไทย ร่วมใจปักหมุดผ่านแอป “พ้นภัย” เฉลิมพระเกียรติฯ หนุน อสม.- อสส. ปักหมุดพิกัดกลุ่มเปราะบางให้ครบทุกตำบล/แขวง เพื่อการเข้าถึงบริการสุขภาพและได้รับความช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุข เผย ปักหมุดแล้ว 6,762 ตำบล/แขวง คิดเป็นพื้นที่ ร้อยละ 91.10 เดินหน้าผลักดันให้ครอบคลุมทั้งหมดภายใน 28 กรกฎาคม 2567 นี้

วันนี้ (24 กรกฎาคม 2567) ที่ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จังหวัดนนทบุรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิด “โครงการ อสม. ทั่วไทย ร่วมใจปักหมุดผ่านแอป “พ้นภัย” เพื่อกลุ่มเปราะบาง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” โดยมี นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล รองปลัด กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และ อสม. ร่วมงาน

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้จัด “โครงการ อสม. ทั่วไทย ร่วมใจปักหมุดผ่านแอป “พ้นภัย” เพื่อกลุ่มเปราะบาง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” มุ่งหวังให้ประชากรกลุ่มเปราะบางทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ได้เข้าถึงบริการสุขภาพและได้รับความช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างทั่วถึงและครอบคลุม โดยให้ อสม./อสส. ทำการสำรวจและปักหมุดพิกัดกลุ่มเปราะบางใน 76 จังหวัด 7,255 ตำบล และกรุงเทพมหานคร 168 แขวง รวมเป็น 7,423 ตำบล/แขวง สำหรับเข้าช่วยเหลือเป็นลำดับแรกเมื่อเกิดภัยพิบัติ และยังช่วยลดความซ้ำซ้อนในการช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ รวมถึงผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการเข้าช่วยเหลือ

นายแพทย์ภาณุมาศ กล่าวว่า โครงการ อสม. ทั่วไทย ร่วมใจปักหมุดผ่านแอป “พ้นภัย”ฯ นอกจากช่วยให้กลุ่มเปราะบางได้เข้าถึงการดูแลอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ ยังเป็นการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขของประเทศให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน ขยายโอกาสดูแลคุณภาพชีวิตและความมั่นคงให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2567 อสม./อสส. ได้ทำการปักหมุดในพื้นที่ทั่วประเทศแล้ว 6,762 ตำบล/แขวง คิดเป็นร้อยละ 91.10 มีผู้เปราะบางในการปักหมุดรวม 424,738 ราย แบ่งเป็น ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 359,970 ราย ผู้พิการที่ไม่สามารถหลบหนีภัยได้ 49,861 ราย และผู้ป่วยติดเตียง 14,907 ราย ซึ่งจะมีการสนับสนุนให้ อสม./อสส. ปักหมุดพิกัดกลุ่มเปราะบางเพิ่มเติมอีก 661 ตำบล/แขวงที่เหลือให้ครอบคลุม ภายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 นี้

ด้าน นายแพทย์สามารถกล่าวว่า การปักหมุดลงพิกัดกลุ่มเปราะบางรายใหม่ผ่านแอป “พ้นภัย” เป็นหนึ่งในภารกิจของ อสม. ที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยบูรณาการกับระบบการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ กำกับ ติดตามการปฏิบัติงาน เพื่อให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ที่ผ่านมามีหน่วยงานต่างๆ นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อาทิ กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ นำข้อมูลไปใช้ในการจัดทำแผนเผชิญเหตุอุทกภัย เตรียมความพร้อมช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง, สภากาชาดไทยส่งมอบชุดธารน้ำใจ 204,890 ชุด นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้กลุ่มเปราะบางที่อยู่ลำพัง หรือบางรายที่คนในครอบครัวต้องออกไปทำงานในช่วงกลางวัน ได้มีโอกาสพูดคุย ตรวจสุขภาพเบื้องต้นกับ อสม. ถือเป็นการเสริมพลังใจ สร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับกลุ่มเปราะบางได้อีกทางหนึ่ง

Advertisement

Verified by ExactMetrics