วันที่ 3 เมษายน 2025

พ.ร.บ.สถาบันพระบรมราชชนกคลอด สธ.พร้อมผลิตพยาบาล-บุคลากรด้านสุขภาพเอง

People Unity : สถาบันพระบรมราชชนก พร้อมเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการพยาบาล สาธารณสุข และสหเวชศาสตร์ให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการของประเทศ

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมสภาสถาบันพระบรมราชชนก ว่า  ขณะนี้ พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ.2562 ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2562 โดยได้กำหนดให้จัดตั้งสถาบันพระบรมราชชนก เป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีสถานะเป็นสถานศึกษาของรัฐ เป็นนิติบุคคล จัดการการศึกษาระดับปริญญา สามารถประสาทปริญญาบัตรได้เอง พัฒนาระบบบริหารและการจัดการ และวิชาการที่มีความคล่องตัว โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ภารกิจหลักเพื่อผลิตกำลังคนด้านสาธารณสุขให้มีความสอดคล้องกับแผนของกระทรวงฯ และภาพรวมของประเทศ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ รวมถึงมาตรฐานการศึกษาและวิชาการ การจัดการ และฝึกอบรมบุคลากรด้านสุขภาพ การพยาบาล สาธารณสุข และสหเวชศาสตร์ให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการของประเทศ

ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ให้กระทบต่อการเรียนการสอนและบุคคลกรในระยะสั้น ได้มีการวางแผนให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นสำนักงานอธิการบดีก่อน ส่วนระยะกลางคือหาพื้นที่เพื่อจัดสร้างสำนักงานอธิการบดีและศูนย์การศึกษาครบวงจร และระยะยาวพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ครบทุกมิติตามรูปแบบมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันการดำเนินงานอยู่ระหว่างจัดตั้งคณะกรรมการด้านต่างๆ เช่น คณะกรรมการบริหารงานบุคคล คณะกรรมการสภาวิชาการ คณะกรรมการถ่ายโอนกิจการและทรัพย์สิน คณะกรรมการบริหารการเงินและพัสดุ คณะกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมาย เป็นต้น

ทั้งนี้ สถาบันพระบรมราชชนกมีวิทยาลัยในสังกัดกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศจำนวน 39 แห่ง สามารถผลิตบุคลากรด้านสุขภาพแบ่งเป็น ด้านการพยาบาล 2 หลักสูตร คือ พยาบาลศาสตร์บัณฑิต จำนวน 4,000 คนต่อปี และผู้ช่วยพยาบาล จำนวน 1,800 คนต่อปี ด้านสหเวชศาสตร์ จำนวน 8 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี จำนวน 970 คนต่อปี และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 730 คนต่อปี นอกจากนี้ ยังมีการจัดการพัฒนาบุคลากรด้านการบริการสุขภาพ จำนวน 45 หลักสูตร ผู้เข้ารับการพัฒนา 52,000 คนต่อปี ที่ผ่านมาสถาบันพระบรมราชชนกผลิตบัณฑิตไปแล้วกว่า 220,000 คน

สังคม : พ.ร.บ.สถาบันพระบรมราชชนกคลอด สธ.พร้อมผลิตพยาบาล-บุคลากรด้านสุขภาพเอง

People Unity : post 12 พฤษภาคม 2562 เวลา 08.30 น.

“พรหมินทร์” เลขาฯ นายกฯ เผยบทความ The Economist ชื่นชมระบบสาธารณสุขไทยมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 13 กันยายน 2567 “พรหมินทร์” เลขาฯ นายกฯ เผยบทความ The Economist “Why is Thai health care so good?” ชื่นชมระบบสาธารณสุขไทยมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก รากฐานจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค

วันนี้ (13 กันยายน 2567) นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นิตยสารด้านเศรษฐกิจโลก The Economist ลงบทความเกี่ยวกับประเทศไทยหัวข้อ Why is Thai health care so good? (https://www.economist.com/asia/2024/07/04/why-is-thai-health-care-so-good) ชื่นชมระบบสาธารณสุขของไทย ระบุว่าระบบดูแลสุขภาพของไทยมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท ที่ริเริ่มครั้งใหญ่ นำมาใช้เมื่อปี 2545 ทั้งนี้ หลายประเทศต้องการนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยไปใช้

โดยบทความระบุว่า ระบบสุขภาพไทยสามารถทำให้โดยเฉลี่ยคนไทยคาดหวังว่าจะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 80 ปี ซึ่งนานกว่าคนในภูมิภาค (ตัวเลขในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ 73 ปี) ซึ่งมากกว่าคนอเมริกันและยุโรปโดยเฉลี่ยเล็กน้อย (ประมาณ 79 ปี)

ซึ่งข้อมูลล่าสุดจากองค์การสหประชาชาติ ปีที่แล้ว (2566) ประชากร 99.5% ของประชากร 72 ล้านคนได้รับการคุ้มครองโดยประกันสุขภาพ โดยประเทศไทยประสบความสําเร็จในฐานะประเทศกําลังพัฒนาแม้มีรายได้ต่อคนอยู่ที่ประมาณ 7,000 ดอลลาร์ ซึ่งน้อยกว่ารายได้ของคนอเมริกา 11 เท่า

The Economist อธิบายถึงประสิทธิภาพของนโยบายสาธารณสุขของไทยว่า รัฐบาลไทยในปี 2545 ริเริ่มครั้งใหญ่ ผลักดันให้ระบบประกันสุขภาพมุ่งเป้าไปที่คนยากจน โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นโครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อดูแลผู้ที่ทํางานนอกระบบ และทำงานเอกชน ซึ่งให้การดูแลสุขภาพแก่คนยากจน และจ่ายค่าธรรมเนียมเพียง 30 บาท (1 ดอลลาร์) ซึ่งมีการศึกษาอ้างอิงพบว่า ระหว่างปี 2543 – 2545 อัตราการเสียชีวิตของทารกลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งโครงการฯ ครอบคลุมการรักษาโรคที่หลากหลาย เน้นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน รวมทั้งในปัจจุบันโครงการฯ ได้ขยายความครอบคลุมไปยังการรักษาโรคต่าง ๆ ด้วย ตั้งแต่โรคเอดส์ (HIV/AIDS) ไปจนถึงโรคไต

ซึ่งทำให้โครงการนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ช่วยเพิ่มความนิยมให้กับนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยเป็นนโยบายที่ไม่มีรัฐบาลใดกล้าที่จะแก้ไข แต่ขยายความครอบคลุมการรักษาโรคออกไป อีกประเด็นที่พิเศษคือ โครงการนี้ได้รับเงินทุนจากรายได้ภาษี แต่มีการควบคุมค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ หลายประเทศพยายามที่จะนำนโยบายหลักประกันสุขภาพของไทยไปใช้ โดยเมื่อต้นปีนี้ (2567) ซาอุดีอาระเบียได้ลงนามในข้อตกลงกับรัฐบาลไทยเพื่อร่วมมือในเรื่องสาธารณสุข รวมทั้ง คณะผู้แทนไทยได้เดินทางไปทั่วเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลางเช่นกัน ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีความท้าทายที่คนไทยมากกว่า 1 ใน 5 มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งสร้างความท้าทายให้กับระบบสาธารณสุขและการเงินของรัฐบาล โดยรัฐบาลพยายามเพิ่มจำนวนแพทย์ในภาครัฐ ในขณะเดียวกันมีการเปิดตัวนโยบายอื่นๆ เฉพาะสําหรับผู้สูงอายุ อย่างไรก็ดี การดูแลสุขภาพของไทยอาจยังคงเป็นแบบอย่างของโลก

Advertisement

รัฐบาลห่วง หลังพบข้อมูลวัยรุ่นหญิง มีแนวโน้มสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มกว่าวัยรุ่นชาย

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 8 มีนาคม 2568 รัฐบาลห่วงเด็กและเยาวชนไทยมีค่านิยมผิด ๆ หลังพบข้อมูลวัยรุ่นหญิง มีแนวโน้มสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มกว่าวัยรุ่นชาย เดินหน้าปราบปรามเข้มข้น ดำเนินคดีทุกราย

วันนี้ (8 มีนาคม 2568) นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ามูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ได้รายงานสถานการณ์เด็กและเยาวชนไทย โดยเฉพาะวัยรุ่นหญิงมีแนวโน้มสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นกว่าวัยรุ่นชาย ซึ่งหากปล่อยให้วัยรุ่นหญิงติดบุหรี่ไฟฟ้าจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าผู้ชาย

“แม้ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 แสดงอัตราการ ‘สูบบุหรี่มวน’ ของหญิงไทยลดลง เหลือ 1.3%  แต่เมื่อเทียบกับการสำรวจระดับประเทศ เมื่อปี 2565 พบว่าวัยรุ่นหญิงอายุ 13 – 15 ปี สูบบุหรี่ไฟฟ้า 15% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าบุหรี่มวน 10 เท่า ในขณะที่ผู้ชายสูบบุหรี่ไฟฟ้า 20.2%  และการสำรวจปีต่อ ๆ มา ในประเทศไทย พบว่า วัยรุ่นหญิงและชายมีอัตราการสูบบุหรี่ที่ใกล้เคียงกัน หากปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินต่อไป จะส่งผลให้อัตราการสูบบุหรี่โดยภาพรวมทั้งบุหรี่ปกติและบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มผู้หญิงเพิ่มสูงอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน” นายอนุกูล ระบุ

ทั้งนี้ จากข้อมูลยังพบว่าหญิงไทยสูบบุหรี่ทุกรูปแบบ จะมีแนวโน้มเลิกได้ยากกว่าผู้ชาย และที่น่าเป็นห่วงคือ ผลของการเสพติดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทุกระบบระยะยาวด้วย ซึ่งเป็นผลจากความแตกต่างของฮอร์โมนเพศหญิงกับชาย จึงมีโอกาสเป็นโรคร้ายที่ระบบอวัยวะอื่นที่มากกว่าผู้ชายด้วย หากเป็นผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ จะทำให้สารพิษทั้งนิโคติน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และสารอื่น ๆ ถูกส่งผ่านระบบทางเดินหายใจของมารดาเข้าไปสู่รก ซึ่งสารพิษเหล่านี้จะทำให้มีการแปรปรวนภายในมดลูก และก่อผลร้ายหลายประการ เช่น การแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด (ซึ่งทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ยังไม่สมบูรณ์พอ) เป็นต้น

“การระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทยในปัจจุบัน รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ สั่งการให้ทุกหน่วยงานเร่งปราบปราม เน้นย้ำให้ดำเนินตามกฎหมายให้ถึงที่สุดไม่ว่าจะเป็นรายย่อยหรือรายใหญ่จะต้องจับดำเนินการตามกฎหมายให้หมด ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสงค์จะเลิกสูบบุหรี่ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ https://www.thailandquitline.or.th/site/  หรือ โทร. สายด่วน 1600” นายอนุกูล กล่าว

Advertisement

คกก.ควบคุมโรคติดต่อเห็นชอบยกระดับด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ

People Unity : คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ยกระดับการป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เพิ่มคณะทำงานโรคติดต่อ ลดและเพิ่มโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อไม่ให้เข้าประเทศ

วันที่ 24 ต.ค.2562 ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ครั้งที่ 2/2562 ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ในการดำเนินการที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันควบคุมโรคติดต่อไม่ให้เข้าสู่ประเทศ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….เห็นชอบให้ยกระดับการป้องกันควบคุมโรค ณ “จุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก” อ.ภูซาง จ.พะเยา ให้เป็น “ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศพรมแดนบ้านฮวก” ซึ่งปัจจุบันมีด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศจำนวนทั้งสิ้น 68 ด่าน

นายแพทย์สุขุม กล่าวต่อว่า สำหรับ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง การเพิ่มเติมผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐในคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เห็นชอบให้เพิ่มเติมผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐในคณะทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานประจำช่องทางเข้าออกประเทศใน 5 ช่องทาง พื้นที่ จ.สงขลา ได้แก่ ด่านท่าเรือสงขลา ด่านพรมแดนสะเดา ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ด่านพรมแดนบ้านประกอบ และท่าอากาศยานหาดใหญ่

นอกจากนี้ ได้เห็นชอบ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. โดยเพิ่ม 2 โรค คือ โรคพยาธิใบไม้ตับ และการติดเชื้อในโรงพยาบาล และตัดรายชื่อ 4 โรคออกจากโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ พยาธิทริโคโมแนสของระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ, โลนที่อวัยวะเพศ, หูดข้าวสุก และโรคบิด ทำให้ขณะนี้มีโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทั้งสิ้น 55 โรค

กรมราชทัณฑ์ติวเข้มผู้สอนบาลีศึกษาแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ

People Unity News :  “กิตติพัฒน์ เดชะพหุล” รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายพัฒนาพฤตินิสัย เปิดการสัมมนาบุคลากรด้านการเรียนการสอนบาลีศึกษาในเรือนจำ ประจำปี พ.ศ.2563

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ที่วัดเสมียนนารี พระอารามหลวง แขวงจตุจักร กรุงเทพมหานคร นายกิตติพัฒน์ เดชะพหุล รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายพัฒนาพฤตินิสัย เป็นประธานเปิดการสัมมนาบุคลากรด้านการเรียนการสอนบาลีศึกษาในเรือนจำ ประจำปี พ.ศ.2563 พร้อมกล่าวว่า สืบเนื่องจาก การที่กรมราชทัณฑ์ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการส่งเสริมให้ผู้ต้องขังได้ศึกษาเรียนรู้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา กรมราชทัณฑ์ต้องหาวิธีอบรม กล่อมเกลาพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง เพื่อให้เขาสามารถดำเนินชีวิตในภาวะวิกฤตของชีวิต ให้เป็นไปอย่างปกติสุขตามอัตภาพ มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ สำนึกในบาปบุญคุณโทษการส่งเสริมให้ผู้ต้องขังได้ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของศาสนาที่ให้โอกาสผู้ต้องขังได้แสดงศักยภาพให้สังคมภายนอกได้รับทราบ ตลอดจนเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ สนับสนุนให้เขาเหล่านี้ กลับสู่สังคมได้อย่างปกติสุข และไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก

นายกิตติพัฒน์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กรมราชทัณฑ์พิจารณาเห็นสมควร ที่จะขยายผลการจัดการเรียนการสอนบาลีศึกษาไปยังเรือนจำ ทัณฑสถานทั่วประเทศ โดยได้สำรวจความพร้อมและความต้องการของเรือนจำ ทัณฑสถาน ในการเปิดการเรียนการสอนบาลีศึกษา พบว่า มีเรือนจำกว่า 80 แห่ง ประสงค์จะเปิดการเรียนการสอนแต่ได้พิจารณาคัดเลือกไว้เพียง 48 แห่ง เฉพาะที่มีความพร้อม ในด้านบุคลากรดำเนินการ คือ

“มีอนุศาสนาจารย์ประจำเรือนจำ มีอาคารสถานที่จัดการเรียนการสอน มีหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่พร้อมให้การสนับสนุนและมีผู้ต้องขังแจ้งความประสงค์สมัครเรียน รวมกับเรือนจำ ทัณฑสถานที่เปิดดำเนินการก่อนหน้าแล้ว 4 แห่ง เป็นจำนวนทั้งสิ้น 51 แห่ง ดังนั้น เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถประสาน ดำเนินการจัดการเรียนการสอนบาลีศึกษาได้อย่างถูกต้องมีแนวทางปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อให้แผนนโยบายการจัดการเรียนการสอนบาลีศึกษาภายในเรือนจำ ทัณฑสถาน ขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั่วประเทศ และให้การขยายผลการจัดการเรียนการสอนบาลีศึกษา ประสบผลสำเร็จ และสนองต่อพระราชกระแสรับสั่ง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมาลี ด้านการส่งเสริมผู้ต้องขังให้ได้เรียนธรรมะอย่างจริงจัง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเอง ให้เป็น คนดี มีคุณธรรมได้ต่อไปในอนาคต” นายกิตติพัฒน์ กล่าว

ผู้สูงอายุอุบลฯร้อง”กนกวรรณ”จัดหาห้องเรียนคอมพ์เรียนรู้ข่าวสารยุค4.0

People Unity News : ผู้สูงอายุอุบลฯร้อง”กนกวรรณ”จัดหาห้องเรียนคอมพ์เรียนรู้ข่าวสารยุค4.0 เสมา 3 สั่ง กศน.อำเภอเมืองเร่งดำเนินการ ร้องรับเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ ( Co – Learning Space)

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายดิศกุล เกษมสวัสดิ์ เลขาธิการ กศน.และคณะ เยี่ยมชมห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี และรับฟังรายงานผลการดำเนินงานห้องสมุดประชาชนและธนาคารหนังสือ

ดร.กนกวรรณ กล่าวว่า การเดินทางมาติดตามการดำเนินงานในวันนี้ ทำให้ได้ฟังเสียงสะท้อนจากพื้นที่ในหลายมิติ อะไรที่รัฐบาลเดิมทำดีแล้วก็ขอให้ทำต่อไปและพัฒนาให้ดีขึ้น การรับฟังข้อมูลทุกด้าน ทำให้ได้รับทราบถึงปัญหาในหลายๆส่วนที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะในส่วนของการให้บริการ ซึ่งต้องอาศัยงบประมาณสนับสนุนในการบริหารจัดการ และการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ผ่านการสร้างกิจกรรมต่างๆเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เยาวชนเข้าสู่สังคมแห่งการอ่าน

วันนี้เข้ามาที่นี่รู้สึกมีความสุข อยากกลับมาอีก อยากให้เด็กๆทุกคนให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสือ และขอให้ผู้ปกครองช่วยกันปลูกฝังลูกๆตั้งแต่เด็กให้รักการอ่าน และขอฝากให้ห้องสมุดส่งเสริมการจัดกิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ให้รองรับความต้องการของคนทุกช่วงวัย รวมถึงการเพิ่มจุดบริการอาหารสมองให้มีความหลากหลาย เพื่อเตรียมความพร้อมให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ ( Co – Learning Space) โดยเฉพาะหนังสือและสื่อที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และศาสตร์พระราชา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ศึกษาและพัฒนาแนวคิด วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง สามารถคิดเป็น ปฏิบัติเป็น สามารถพึ่งตนเองได้อย่างชาญฉลาด เสริมสร้างการเรียนรู้ทุกช่วงวัย ที่สำคัญในบทบาทของ กศน.ที่จะขาดมิได้ และขอให้พัฒนาให้ดีขึ้น มากขึ้น ก็คือ การแสวงหาเครือข่ายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งร่วมกัน

“และวันนี้ได้พบกับคุณลุงอ้วน สมาชิกเจ้าประจำของห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งลุงอ้วนบอกว่าอยากให้ติดแอร์ในห้องสมุด และขอให้ที่นี่มีการจัดห้องเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับผู้สูงอายุ จะได้เอาไว้เรียนรู้เทคโนโลยี และข่าวสารต่างๆให้ทันคนรุ่นใหม่บ้าง ซึ่งตนได้รับไว้แล้วจะให้ กศน.อำเภอเมืองอุบลราชธานี ดำเนินการในส่วนนี้ให้ต่อไป เพราะการส่งเสริมการศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นยุคเทคโนโลยี ดิจิตอล ถือเป้าหมายสำคัญที่เราจะจับมือพัฒนาคนทุกช่วงวัยไปด้วยกันอย่างมีความสุข” รมช.ศธ.กล่าว

คนไทยอยู่กับมลพิษอะไรบ้าง? เผยสถานการณ์มลพิษในประเทศไทยปี 60

People unity news online : 12 มกราคม 2561 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ เผยสถานการณ์มลพิษประเทศไทยปี 2560 ในภาพรวมมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้นจากปี 2559 ดังนี้

1.คุณภาพน้ำแม่น้ำสายหลัก 59 แม่น้ำของประเทศในปี 2560 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยคุณภาพน้ำที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 86 และอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมลดลงจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 14 โดยไม่มีแหล่งน้ำที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้ำเป็นรายภาค ภาคใต้มีแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดีมากกว่าภาคอื่น รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมากกว่าภาคอื่นเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา โดยแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดีสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ แม่น้ำตาปีตอนบน ลำตะคองตอนบน ลำชี สงคราม และสายบุรี

ส่วนแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ท่าจีนตอนล่าง พังราดตอนบน ระยองตอนล่าง และกวง ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แหล่งที่ตั้งของอุตสาหกรรม พื้นที่ทำการเกษตรและการเพาะเลี้ยงสัตว์ ซึ่งไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียและระบบที่ดำเนินการอยู่ยังดูแลจัดการน้ำเสียไม่เต็มประสิทธิภาพ

สำหรับเกิดเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบคุณภาพน้ำในปี 2560 เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรของประชาชน คือ กรณีบ่อกักเก็บน้ำกากส่าของโรงงานบริษัท ไทยอะโกร เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จังหวัดสุพรรณบุรี พังทลาย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ประกอบกับเป็นช่วงฝนตกหนักติดต่อกัน ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าที่ปนเปื้อนน้ำเสียท่วมบ้านเรือนประชาชนและไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีน ซึ่งจากการตรวจสอบพื้นที่และเก็บตัวอย่างน้ำเสีย ณ จุดเกิดเหตุ คุณภาพน้ำจากบ่อกักเก็บน้ำกากส่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ลำห้วยขจี ลำห้วยกระเสียว และแม่น้ำท่าจีน มีคุณภาพน้ำ ณ ขณะนั้นอยู่ในระดับเสื่อมโทรมมาก จังหวัดสุพรรณบุรีได้สั่งการให้บริษัทหยุดประกอบกิจการทั้งหมดและให้ปรับปรุงแก้ไขบ่อบำบัดน้ำเสียให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน มีการเยียวยาผลกระทบของประชาชนโดยตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือ และโรงงานเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายทั้งหมด

2.คุณภาพน้ำทะเล มีแนวโน้มดีขึ้น โดยคุณภาพน้ำทะเลที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดีมากเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 91 เป็นร้อยละ 96 และเกณฑ์เสื่อมโทรมถึงเสื่อมโทรมมากลดลงจากร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 4 คุณภาพน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก อ่าวไทยฝั่งตะวันตก และชายฝั่งอันดามันส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นบริเวณอ่าวไทยตอนในคุณภาพน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ปัจจัยที่ส่งผลให้คุณภาพน้ำทะเลดีขึ้น เป็นเพราะมีการบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆบริเวณชายฝั่งทะเล และการป้องกันและลดมลพิษจากแหล่งกำเนิดมลพิษจากบนฝั่ง โดยแหล่งน้ำทะเลที่มีคุณภาพดีสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อ่าวสะพลี และอ่าวทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร ทะเลแหวก และหาดต้นไทร เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ และช่องแสมสาร จังหวัดชลบุรี ส่วนแหล่งน้ำทะเลที่มีคุณภาพเสื่อมโทรมสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ปากคลอง 12 ธันวา และหน้าโรงฟอกย้อม กม.35 จังหวัดสมุทรปราการ ปากคลองท่าเคย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปากแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ และปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากเป็นพื้นที่รองรับน้ำเสียที่มาจากแหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

3.สถานการณ์คุณภาพอากาศ จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ โดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติทั่วประเทศทั้งหมด 63 สถานี ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ 33 จังหวัดที่ต้องมีการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมืองขนาดใหญ่ เขตอุตสาหกรรม พื้นที่เสี่ยงต่อการเผาในที่โล่ง คุณภาพอากาศในปี 2560 มีแนวโน้มดีขึ้น สารมลพิษที่ยังเป็นปัญหา คือ ฝุ่นละออง ( TSP PM10 PM2.5 ) ก๊าซโอโซน (O3) และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) โดยฝุ่นละออง PM10 ตรวจวัดได้ในช่วง 3 -268 มคก./ลบ.ม. ค่าสูงสุดเฉลี่ย 114 มคก./ลบ.ม. (ค่ามาตรฐาน 120) เกินมาตรฐาน 20 จังหวัด แต่มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2555 ฝุ่นละออง PM2.5 ตรวจวัดได้ในช่วง 2 – 116 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ 21 มคก./ลบ.ม. (ค่ามาตรฐาน 25) เกินมาตรฐาน 13 จังหวัด จาก 18 จังหวัดที่มีการตรวจวัด ก๊าซโอโซน ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมงสูงสุดของแต่ละสถานีตรวจวัดเฉลี่ย เท่ากับ 121 พีพีบี (มาตรฐาน 100) เกินมาตรฐาน 24 จังหวัด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนสาร VOCs ประเภทเบนซีน พบเกินมาตรฐาน 3 จังหวัด จาก 7 จังหวัดที่มีการตรวจวัด แต่มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ และระยอง

ทั้งนี้ พื้นที่ที่มีสถานการณ์มลพิษทางอากาศที่มีปริมาณเข้มข้นมากสุด ได้แก่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ปี 2560 พบค่าฝุ่นละอองสูงสุดอยู่ที่จังหวัดลำปาง เท่ากับ 237 มคก./ลบ.ม. ลดลงจากปี 2559 ที่ตรวจวัดได้ 317 มคก./ลบ.ม. ที่จังหวัดเชียงราย จำนวนวันที่ปริมาณฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานลดลงจากปี 2559 จาก 61 วัน เป็น 38 วัน (ลดลงร้อยละ 38) และจุดความร้อนสะสมรายจังหวัดลดลงจากปี 2559 จาก 10,115 จุด เป็น 5,409 จุด (ลดลงร้อยละ 47)

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์หมอกควันดีขึ้นเป็นผลมาจากการบูรณาการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยกระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพหลักในการแก้ไขปัญหาหมอกควันภายใต้กลไกของพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บัญชาการแบบ Single Command

สำหรับตำบลพระลาน จังหวัดสระบุรี มีปัญหาฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานมากที่สุดปี 2560 จำนวนวันที่ฝุ่นเกินมาตรฐานมากกว่าปี 2559 จาก 89 วัน เป็น 107 วัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 20) ค่าที่วัดได้อยู่ระหว่าง 19 – 257 มคก./ลบ.ม. สาเหตุของปัญหาเกิดจากการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองจากกิจการเหมืองหิน โรงโม่ บดหรือย่อยหิน โรงปูนซิเมนต์และการคมนาคมขนส่งในพื้นที่

4.สถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอย ปี ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศประมาณ 27.40 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 จากปี 2559 ที่เกิดขึ้น 27.06 ล้านตัน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของชุมชนเมือง แต่อัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อคนลดลงจาก 1.14 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี2559 เป็น 1.13 กิโลกรัม/คน/วัน โดยเป็นผลมาจากความร่วมมือของหน่วยงานท้องถิ่น ประชาชน และภาคเอกชนในการลดและใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

การจัดการขยะมูลฝอยใน 2560 เปรียบเทียบกับปี 2559 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จาก 9.57 ล้านตัน เป็น 11.70 ล้านตัน มีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 47 จาก 5.80 ล้านตัน เป็น 8.52 ล้านตัน ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกต้องลดลงร้อยละ 39 จาก 11.69 ล้านตัน เป็น 7.18 ล้านตัน อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ส่งผลให้การจัดการขยะมูลฝอยยังดำเนินการได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อาทิ อัตราค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากประชาชนยังไม่สอดคล้องกับต้นทุนการดำเนินงาน การคัดแยกขยะมูลฝอยจากต้นทางยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องโดยบางแห่งยังมีการเก็บขนขยะมูลฝอยที่คัดแยกไว้แล้วรวมกับขยะที่จะต้องกำจัด ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอย การกำจัดขยะมูลฝอยในบางพื้นที่ยังดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ บางพื้นที่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากประชาชนต่อต้าน การขาดความร่วมมือและความตระหนักจากประชาชน นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง รวมถึงยังมีการใช้สินค้าและ/หรือบรรจุภัณฑ์ที่กำจัดยากและย่อยสลายตามธรรมชาติได้ยากโดยเฉพาะถุงพลาสติกและโฟม

สำหรับเทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่มีการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพดีในลำดับต้นจำนวน 23 แห่ง อาทิ เทศบาลนครเชียงราย เทศบาลนครนครสวรรค์ เทศบาลนครพิษณุโลก และที่ยังต้องปรับปรุงและพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยให้ดีขึ้น จำนวน 26 แห่ง อาทิ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลเมืองนครพนม เทศบาลนครแหลมฉบัง (ชลบุรี) ฯลฯ

5.ของเสียอันตรายจากชุมชน จากการสำรวจและคาดการณ์ปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนที่เกิดขึ้นในปี 2560 มีทั้งหมด 618,749 ตัน ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 60,619 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 9.80) เป็นผลจากการวางระบบการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีจุดรวบรวมของเสียอันตรายในหมู่บ้านหรือชุมชน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในกรุงเทพมหานครเพื่อเก็บรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชน ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีจุดทิ้งของเสียอันตรายจากชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครถึง 2,718 แห่ง อย่างไรก็ตามยังพบของเสียอันตรายจากชุมชนถูกทิ้งปนกับขยะมูลฝอยทั่วไป เนื่องจากยังมีระบบคัดแยก เก็บ รวบรวม และขนส่งไปกำจัดยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ขาดกฎระเบียบในการคัดแยกของเสียอันตรายจากชุมชนออกจากขยะมูลฝอยทั่วไป ศูนย์รวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนเพื่อรอส่งไปกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคกลางและไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ สถานที่บำบัด/กำจัดมีไม่เพียงพอ มีซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์บางประเภทถูกนำไปรีไซเคิลไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และไม่มีการคัดแยกของเสียอันตรายจากบ้านเรือน

แนวทางการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม มีดังนี้

1.การจัดการน้ำเสีย

ควบคุมปริมาณและลดความสกปรกของน้ำเสียที่ต้นทาง อาทิ การผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และการห้ามระบายมลพิษสู่ภายนอก

คำนึงถึงการจัดการน้ำเสียตั้งแต่ก่อตั้งสถานประกอบการ การต่อใบอนุญาต และระหว่างประกอบกิจการ

การสั่งอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาตต้องนำมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดไปกำหนดเป็นเงื่อนไขหรือข้อบังคับให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามและควบคุมการระบายน้ำเสียด้วยระบบการอนุญาตระบายมลพิษ (Permit System)

ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียรวมในทุกชุมชนเมืองที่มีประชากรหนาแน่นโดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ริมน้ำ

ปรับรูปแบบการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนในพื้นที่ที่ขาดความพร้อม เช่น ให้องค์การจัดการน้ำเสียหรือเอกชนเข้าไปดำเนินการแทน

ปฏิรูปให้ระบบบำบัดน้ำเสียรวมเป็นหนึ่งในระบบสาธารณูปโภคของภาครัฐเหมือนไฟฟ้า น้ำประปา

2.การจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ

ยกระดับมาตรฐานเพื่อลดการระบายมลพิษจากยานยนต์และน้ำมันเชื้อเพลิงให้เทียบเท่าระดับสากล (EURO 5)

สนับสนุนให้มีการใช้ยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ รถยนต์ Eco Car รถยนต์ไฟฟ้า (EV)

สร้างระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับเส้นทางหลักเพื่อให้ประชาชนสะดวกในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

ป้องกันและแก้ไขหมอกควันภาคเหนือตามระบบและกลไกที่วางไว้ เพิ่มมาตรการทางสังคมกดดันคนที่จุดไฟแทนการกดดันผู้ที่ทำหน้าที่ดับไฟ

จัดระเบียบการอนุญาตประกอบกิจการเหมืองหิน เข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายกับกิจการเหมืองหิน โรงโม่ บดหรือย่อยหินและโรงปูนซิเมนต์ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย และให้ผู้ประกอบการเหมืองหินและโรงปูนซิเมนต์ประกาศเจตนารมณ์ต่อสาธารณชนในการประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม

3.การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายชุมชน

รณรงค์ให้ประชาชนคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง โดยเฉพาะขยะเศษอาหาร ขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ของเสียอันตรายรวมถึงซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

มีการวางระบบการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนให้มีจุดทิ้งของเสียอันตราย (Drop-off)ิ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวบรวมนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง

ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีระบบการคัดแยก รวบรวม และเก็บขนขยะมูลฝอย และมีศูนย์กลางการคัดแยกขยะรีไซเคิล

ให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายอย่างครบวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอย

การแถลงข่าวสรุปสถานการณ์มลพิษประเทศไทยปี 2560 ในครั้งนี้ มี นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานแถลงข่าว เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2561 ณ ห้องประชุม 301 อาคารกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

People unity news online : post 12 มกราคม 2561 เวลา 20.30 น.

เปิดหลักเกณฑ์ “ประมูลเลขทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ”

People Unity News : กรมการขนส่งทางบก เปิดหลักเกณฑ์ “ประมูลเลขทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ”

19 ก.พ.65 กรมการขนส่งทางบก ออกประกาศหลักเกณฑ์การกำหนดตัวอักษรประจำหมวด และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขการประมูลหมายเลขทะเบียนรถของแผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยสามารถใช้คำหรือข้อความที่มีตัวอักษรมากกว่า 2 ตัว หรือตัวอักษรผสมสระหรือวรรณยุกต์ได้

สำหรับความพิเศษของแผ่นป้ายทะเบียนรถรูปแบบใหม่นี้ จะเป็นคำหรือข้อความที่มีความหมายเป็นมงคล ซึ่งประชาชนสามารถร่วมเสนอคำหรือข้อความที่ต้องการใช้กับป้ายทะเบียนที่มีลักษณะพิเศษ ได้ที่ www.tabienrod.com โดยจะมีคณะอนุกรรมการพิจารณาคำหรือข้อความตามหลักเกณฑ์ ก่อนจะนำออกมาเปิดประมูลเป็นการทั่วไป

Advertising

“พัชรวาท” สั่งตั้งศูนย์บัญชาการระดับพื้นที่ แก้ปัญหาช้างป่าบุกพื้นที่ทำกินแบบยั่งยืน

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 10 ธันวาคม 2566 “เกณิกา“ เผย ”พล.ต.อ. พัชรวาท” สั่งตั้งศูนย์บัญชาการระดับพื้นที่ แก้ปัญหาช้างป่าบุกพื้นที่ทำกินแบบยั่งยืน เหยียบย่ำพืชผลเกษตรเสียหาย พร้อมจัด จนท.เฝ้าระวัง

น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแก้ปัญหาช้างป่าที่ปัจจุบันประเทศไทยยังมีจำนวนช้างป่ารวมกันมากกว่า 4013-4422 ตัว โดยกระจายอยู่ในป่าอนุรักษ์ 69 แห่ง จากการรุกขยายพื้นที่เมืองและพื้นที่การเพาะปลูกเข้าสู่พื้นที่ป่าเพื่อพัฒนาประเทศ จึงเกิดเป็นความขัดแย้งระหว่างช้างป่าและมนุษย์ ซึ่ง พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้น จึงพยายามหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เข้ามาในพื้นที่หากินของประชาชนในหลายพื้นที่ อาทิ ตำบลวังท่าช้าง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี รวมถึงตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์

“พล.ต.อ. พัชรวาท ต้องการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนอย่างยั่งยืน จึงได้สั่งการให้ตั้งศูนย์บัญชาการระดับพื้นที่ เพื่ออำนวยการแก้ไขปัญหาและกำหนดมาตรการในการผลักดันช้างป่ากลับคืนสู่พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อป้องกันช้างป่าออกมานอกพื้นที่ทำลายพืชผลเกษตร รวมถึงบ้านเรือนประชาชนเสียหายหรือทำร้ายประชาชนจนเสียชีวิต และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังช้างป่าร่วมกับกลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าในพื้นที่ รวมถึงสร้างคูกันช้างป่า รอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จัดทำทุ่งหญ้า แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และโป่งเทียมในพื้นที่“

นอกจากนี้ จะมีการเร่งรัดของบกลาง สำหรับจัดจ้างราษฎรในพื้นที่ เพื่อเป็นชุดปฏิบัติการเฝ้าระวังผลักดันช้างป่า รวมถึงจัดสร้างสถานที่ควบคุมพฤติกรรมช้างป่าและจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเยียวยาราษฎรที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ จะมีการสำรวจประชากรช้างป่า โดยการศึกษาโมเดลแนวทางการแก้ปัญหาจากต่างประเทศ พร้อมทั้งขอให้กำหนดมาตรการเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาช้างป่า เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชนด้วย

Advertisement

ครม.เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 19 ธันวาคม 2566 ครม.เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม เตรียมเสนอเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร 21 ธันวาคมนี้

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อรองรับเรื่องสมรสเท่าเทียม หรือ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เสนอต่อที่ประชุมสภาในวันที่ 21 ธันวาคมนี้ โดยร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจสอบความรอบคอบแล้ว

สำหรับกฎหมายฉบับนี้ จะทำให้บุคคลเพศเดียวกันสามารถสมรสกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสิทธิหน้าที่และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกับคู่สมรสชายและหญิง สร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัว ที่มีความหลากหลายทางเพศ พร้อมขอแสดงความยินดีกับทุกฝ่าย

Advertisement

Verified by ExactMetrics