วันที่ 21 พฤศจิกายน 2024

เดือนรอมฎอน 2566 นายกฯ อวยพรพี่น้องชาวมุสลิมปฏิบัติศาสนกิจบรรลุผลสำเร็จ

People Unity News : 23 มีนาคม 2566 เมื่อเวลา 19.30 น. วันที่ 22 มีนาคม 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวผ่านบันทึกวีดิทัศน์ เนื่องในโอกาสต้อนรับเดือนรอมฎอน ประจำปี พ.ศ. 2566 (ฮ.ศ. 1444) ออกอากาศทางแฟนเพจเฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย มีข้อความถึงพี่น้องชาวไทยมุสลิมที่รัก ว่า

ในโอกาสต้อนรับเดือนรอมฎอน ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1444 อันเป็นเดือนศักดิ์สิทธิ์และเป็นห้วงเวลาสำคัญทางศาสนาอิสลาม ขอส่งความรัก ความระลึกถึง และความปรารถนาดี มายังพี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศและพี่น้องชาวมุสลิมทั่วโลก และขอแสดงความยินดีต่อพี่น้องชาวมุสลิมทุกท่านที่จะได้ร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจอันประเสริฐยิ่งอย่างสมบูรณ์ตามหลักศาสนาอีกครั้ง ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง เพื่อชำระขัดเกลาร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ ยึดมั่นในการทำคุณงามความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน และยังเป็นห้วงเวลาที่จะได้น้อมจิตรำลึกถึงพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานอันศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นการส่งกำลังศรัทธาต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า นำมาซึ่งความรักและประโยชน์สุขต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศ

พร้อมระบุในช่วงท้ายว่า “ในโอกาสอันเป็นสิริมงคลนี้ ขออวยพรให้พี่น้องทุกท่านได้ปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ที่ตั้งมั่นไว้ทุกประการ และขออานุภาพแห่งองค์อัลลอฮ์ที่พี่น้องมุสลิมทุกท่านเคารพนับถือ ได้โปรดประทานความเมตตา ความสุขสวัสดีปลอดภัย และความเจริญ มีกำลังกาย กำลังใจ รวมทั้งจิตวิญญาณที่เข้มแข็ง ดำรงตนเป็นคนดีของสังคมและมีความอารีต่อสาธารณะ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสรรค์สร้างให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าและมั่นคงสืบไป”

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำนักจุฬาราชมนตรี ออกประกาศ เรื่อง กำหนดวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1444 ระบุว่า ตามที่ได้ประกาศให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศดูดวงจันทร์ เพื่อกำหนดวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1444 ในวันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลาหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้านั้น ปรากฏว่า มีผู้เห็นดวงจันทร์ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า วันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1444 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566

 Advertisement

นายกฯขอให้ประชาชนช่วยกันแสดงความคิดเห็นต่อโครงการ “ไทยนิยมยั่งยืน”

People unity news online : นายกรัฐมนตรีขอให้ประชาชนช่วยกันแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ “ไทยนิยมยั่งยืน” ระบุรัฐบาลต้องการให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

วันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2561) เวลา 13.40 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า รัฐบาลได้เปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการ “ไทยนิยมยั่งยืน” เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนว่าต้องการอะไร มีความเดือดร้อนอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลในการจัดทำฐานข้อมูล Big Data ของรัฐบาล จึงขอให้ประชาชนช่วยกันแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ โดยรัฐบาลจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป

สำหรับการลงพื้นที่ตามโครงการ “ไทยนิยมยั่งยืน” จะมีการลงพื้นที่เพื่อดูความต้องการของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงสร้างความเข้าใจ เน้นสร้างการรับรู้ รับทราบปัญหา รวมถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่โดยตรง รวมทั้งนำข้อมูลที่รัฐบาลดำเนินการตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาไปแนะนำเพื่อให้พื้นที่เกิดความเข้มแข็งตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่อย่างยั่งยืน โดยการดำเนินโครงการต้องมีความโปร่งใสในการจัดทำงบประมาณ รับฟังมติของคนส่วนใหญ่ผ่านการทำประชาคม หากพบมีการทุจริตโดยเฉพาะจากส่วนราชการต้องลงโทษ ขอให้ประชาชนช่วยกันรักษาสิทธิ์ ช่วยกันตรวจสอบ ซึ่งรัฐบาลจะไม่ยอมให้ส่วนราชการเข้าไปมีผลประโยชน์จากโครงการนี้โดยเด็ดขาด และขอให้ทุกหน่วยงานทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงเพื่อเป็นการทำความดีร่วมกัน เพื่อประชาชน เพื่อประเทศชาติให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

People unity news online : post 20 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 18.00 น.

“มายด์ ภัสราวลี” ยันชุมนุมปี 63 เป็นคดีการเมือง

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 14 มีนาคม 2567 รัฐสภา – “มายด์ ภัสราวลี” พร้อมทนายเข้าชี้แจง กมธ.นิรโทษกรรม ยันชุมนุมปี 63 เป็นคดีการเมือง ขอรวม ม.112 เชื่อเป็นก้าวแรกคลี่คลายขัดแย้ง

น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์ อดีตผู้ชุมนุมกลุ่มคณะประชาชนปลดแอก และน.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กลุ่มโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ให้สัมภาษณ์ก่อนร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมโดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยเป็นประธานประชุม เพื่อให้ความคิดเห็น และชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองว่ามีเป้าหมาย มีมูลเหตุทางการเมืองอย่างไร เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ

น.ส.พูนสุข กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2557-2562 มีผู้ที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหาร 2,400 คน หลังจากยกเลิกศาลทหาร ก็มีผู้ที่ถูกดำเนินศาลยุติธรรมอีกกว่า 100 คน ตั้งแต่กรกฎาคม ปี 2563-ปัจจุบัน มีคนที่ถูกดำเนินคดีทางการเมือง 1,957 คน และตัวเลขเพิ่มขึ้น แม้จะไม่มีการชุมนุม ส่วนใหญ่เกิดจากการโพสต์ข้อความในช่องทางออนไลน์ และเข้าข่ายกระทำความผิดมาตรา 112 ซึ่งการประชุมร่วมกับกมธ.นิรโทษกรรมจะพูดถึงที่มา และความสำคัญของเหตุผลที่ต้องมีมาตรา 112 และพ.ร.บ.นิรโทษกรรม

ด้านน.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า วันนี้เป็นโอกาสดีและมีความสำคัญมากที่จะได้ชี้แจงว่าการชุมนุมที่เกิดในปี 2563 มีเหตุจูงใจเกี่ยวกับการเมืองไทย ทั้งยังเป็นประเด็นที่คนในสังคมถกเถียงกันอยู่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าจำนวนของคดีมาตรา 112 เป็นหนึ่งในสาเหตุความขัดแย้งที่ถูกสะสม แล้วอาจจะก่อตัวเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงกว่านี้ในอนาคตได้ หากนิรโทษกรรมคดีอื่น ๆ ได้แต่แยกมาตรา 112 ออกจะพูดได้อย่างไรว่า ได้คืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพทั้งหมดแล้วจริง ๆ

“พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่ามาตรา 12 จะต้องถูกรวมใน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะการนิรโทษกรรมจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องรวมมาตรา 112 ไปด้วย เพื่อให้การคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง โดยเริ่มตั้งแต่จุดเริ่มต้นของปัญหา” น.ส.ภัสราวลี กล่าว

Advertisement

โฆษก กห. เผยผลการพูดคุยแนวทางปรองดองกับภาคประชาสังคม 11 องค์กร

People unity news online : เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2560 พลตรี คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง แถลงภาพรวมประจำสัปดาห์ ตลอด 3 วันตั้งแต่วันที่ 20-22 มีนาคม 2560 ในการพูดคุยแนวทางปรองดอง ต่อคณะอนุกรรมการ ป.ย.ป.ในส่วนภาคประชาสังคมว่า ขณะนี้มีองค์กรเข้ามาร่วมเสนอแนวทางปรองดองแล้ว 11 องค์กร ได้แก่ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย/ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ/ สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา/ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์/ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา/ เครือข่ายยุวทัศน์แห่งประเทศไทย/ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา/ ภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น/ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งชาติ/ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร/ มูลนิธิกระจกเงา ซึ่งภาพรวมบรรยากาศเป็นไปด้วยดี และสร้างสรรค์ โดยทุกองค์กรมีความเข้าใจและมั่นใจในการเสนอข้อมูล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ซึ่งมองเรื่องปรองดองว่าทุกฝ่ายต้องเป็นกลาง เปิดใจตัวเองโดยไม่มีอคติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ พร้อมมองถึงความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำ เป็นเรื่องปกติของสังคม แต่บนความขัดแย้งต้องไม่มีเรื่องรุนแรง และทุจริต โดยมุ่งไปที่คนที่ต้องไม่ละเมิดสิทธิ์ของคนอื่น การแก้ปัญหาจึงจำเป็นต้องแก้ที่คน เน้นปฏิรูปการศึกษา กระตุ้นจิตสำนึก ยอมรับสิทธิผู้อื่น รัฐเองต้องให้ความรู้ประชาชนมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสเท่าเทียมกันพร้อมจำเป็นต้องสร้างเด็กรุ่นใหม่ ให้ตระหนักประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

ทั้งนี้ยอมรับว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ต้องอาศัยเวลา และความเข้าใจ ให้อภัยกัน และสร้างความไว้ใจ ส่วนการเลือกตั้ง ยังมองว่าเป็นเพียงกระแสสังคมที่พูดกันไปเอง ขณะนี้สังคมยังมีปัญหา ความรุนแรงอยู่ โดยเฉพาะความรุนแรงทางใจ พร้อมเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช.ให้มีการเจรจา เปิดเวที ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ทำความเข้าใจกันมากขึ้น และบริหารความขัดแย้งของโครงสร้างทุกองค์กร อย่างไรก็ตาม เน้นย้ำว่า คณะกรรมการ ป.ย.ป  มีความตั้งใจ และพร้อมเปิดกว้างพูดคุย รับฟังความเห็นทั้งส่วนกลาง และภูมิภาคได้พูดคุย เพราะการให้ความเห็นเป็นประโยชน์ต่อความขัดแย้งที่ผ่านมา วอนทุกฝ่ายอย่าสร้างเงื่อนไขแนวทางสร้างความปรองดอง

People unity news online : post 24 มีนาคม 2560 เวลา 01.41 น.

กองทัพบกระดมสมองนักวิชาการ “การอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยสันติวิธีและการไม่ใช้ความรุนแรง”

People Unity News : 21 มิ.ย. 65 ผบ.ทบ.ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นการบรรยายวิชาการหัวข้อ “การอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยสันติวิธีและการไม่ใช้ความรุนแรง” ผบ.ทบ. แนะใช้การพูดคุย ลดความขัดแย้ง อยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธีในสังคมที่แตกต่าง

กองทัพบกจัดบรรยายวิชาการ ในหัวข้อ “การอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยสันติวิธีและการไม่ใช้ความรุนแรง” สะท้อนมุมมองและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการ โดยมีนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสันติวิธีมาเป็นวิทยากรบรรยาย ได้แก่ นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า นางผกาวดี สุพรรณจินตวนา ประธานศูนย์การศึกษาสิทธิมนุษยชนความขัดแย้งและสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ พล.ต.ดนัยวัฒนา รุ่งอุทัย ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาและวิทยาการด้านความมั่นคง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยมี พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก พร้อมด้วยผู้บัญชาการระดับสูงของกองทัพ ร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยบรรยายครั้งนี้ ได้ผ่านระบบ Zoom Meeting ไปยังหน่วยทหารทั่วประเทศ

การจัดบรรยายวิชาการครั้งนี้เป็นหนึ่งในนโยบายของกองทัพบก สืบเนื่องมาจากในปัจจุบันหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาค ส่งผลต่อความมั่นคงของประชาคมโลกและประเทศไทย ปัจจัยหนึ่งเกิดจากความขัดแย้งหรือการแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน กองทัพบกจึงมีนโยบายให้ความรู้และแสวงหาข้อมูล เพื่อนำไปเป็นข้อพิจารณาและเป็นแนวทางปฏิบัติงาน รวมถึงเตรียมการด้านความมั่นคงเพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจจะส่งผลต่อสังคมไทยในอนาคต โดยวิทยากรได้นำเสนอแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี อาทิ การสร้างสันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง หลักการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยสันติวิธี การเลือกใช้เครื่องมือในการจัดการความขัดแย้ง แม้มีความแตกต่างในด้านวัฒนธรรม พื้นฐานทางสังคม แนวคิด ความเชื่อ ก็สามารถมุ่งสู่สันติภาพได้โดยไม่มีความรุนแรง เป็นต้น

ผู้บัญชาการทหารบกร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยระบุว่า การอยู่ร่วมกันด้วยสันติวิธีบนความคิดเห็นที่แตกต่าง ใช้การพูดคุยในระดับที่เหมาะสมจะช่วยลดความขัดแย้งในสังคม กองทัพบกตั้งใจอยากให้สังคมไม่มีความขัดแย้ง จึงเปิดรับฟังข้อมูลและแสวงหาวิธีการที่จะทำให้สังคมมีความสงบสุข และพร้อมที่จะเชิญนักวิชาการผู้มีประสบการณ์มาเติมข้อมูลความรู้ในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

Advertisement

นายกฯ เผยคุย ผบ.ทบ. ใกล้ชิด เรื่องสถานการณ์ใต้ เตรียมลงพื้นที่พร้อมนายกฯ มาเลเซีย 3 ส.ค.นี้

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 3 กรกฎาคม 2567 นายกฯ เผยคุย ผบ.ทบ. อย่างใกล้ชิด เรื่องสถานการณ์ใต้ เตรียมลงพื้นที่พร้อมนายกฯ มาเลเซีย 3 ส.ค.นี้

วันนี้ (3 กรกฎาคม 2567) เวลา 15.30 น. ณ อาคารรื่นฤดี สำนักงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)  เขตดุสิต กรุงเทพฯ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมหน่วยขึ้นตรง กอ.รมน. (วาระพิเศษ) และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถึงกรณีสถานการณ์ชายแดนใต้ ที่เกิดเหตุคาร์บอมในแฟลตตำรวจ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ได้หารือกับผู้บัญชาการทหารบก และมีความเป็นห่วงเรื่องนี้หรือไม่

นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้มีการพูดคุยกันอย่างใกล้ชิดกับผู้บัญชาการทหารบก และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี  และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้นายกฯ มีกำหนดลงพื้นที่ชายแดนใต้พร้อมนายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซียแต่ถูกเลื่อนไปนั้น นายกฯ กล่าวว่า เข้าใจว่าวันที่ 3 สิงหาคมนี้ จะลงพื้นที่ไปพร้อมกัน ซึ่งหากมีความจำเป็นตนก็จะลงพื้นที่ไปก่อน คิวที่สามารถลงพื้นที่ไปพร้อมกันได้ก็คือวันที่ 3 สิงหาคม 2567 นี้

Advertisment

ครม.เห็นชอบกรอบแนวทางสร้างสังคมสงบสุขเคารพความต่าง

People Unity News : 27 กันยายน 2565 ครม.เห็นชอบ แนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม เพื่อสร้างสังคมที่สงบสุข ประชาชนอยู่ร่วมกันโดยเคารพความแตกต่างหลากหลายและสิทธิพื้นฐานของมนุษย์

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุม ครม. ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม ตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานในการสร้างสังคมที่สงบสุข ประชาชนอยู่ร่วมกันโดยเคารพความแตกต่างหลากหลาย และสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ ยึดถือหลักความอดทนอดกลั้น ยึดมั่น ในแนวทางสายกลาง และปราศจากความรุนแรงทุกรูปแบบ รวมถึงร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์และจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ชุมชนมีความปลอดภัยและมีความมั่นคง ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายระดับโลกของสหประชาชาติ แผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันและรับมือกับอุบัติการณ์ของการบ่มเพาะแนวคิดหัวรุนแรงและแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงแห่งภูมิภาคอาเซียน และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติปี 2562 – 2565 ของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติปี 2561 – 2580 ในประเด็นด้านเสริมสร้างความมั่นคง

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า แนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคมมีแนวทางการดำเนินการที่บูรณาการครบทุกมิติ ประกอบด้วย 3 มาตรการหลัก คือ

1.การป้องกัน (Prevention) มุ่งเฝ้าระวังความขัดแย้งและการกลั่นแกล้งกันทางออนไลน์ สร้างภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์และการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย ส่งเสริมการใช้สื่ออย่างเหมาะสมและรู้เท่าทัน  เช่น มีระบบป้องกันการรังแกกันในโรงเรียน Application Buddy ให้เด็กสามารถเรียนรู้เรื่องอารมณ์ตนเอง การจัดการอารมณ์ตนเอง การจัดการสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งรังแกกัน

2.การยับยั้ง (Deterring/Restraint) มุ่งลดปัจจัยและขจัดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การมีแนวคิดที่นิยมความรุนแรง  ส่งเสริมการใช้การสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์ และ

3.การฟื้นฟูเยียวยา (Rehabilitation) ที่จะเป็นกระบวนการนำผู้ที่มีแนวคิดที่นิยมความรุนแรงหรือสุดโต่งกลับสู่ทางสายกลางและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข โดยสร้างมาตรฐานในการดูแลกลุ่มเสี่ยง “กลไกการขับเคลื่อนจะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในสังคม เป้าหมายเพื่อให้มีการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาชน ดังนั้นจึงมีคณะทำงานร่วม 3 ฝ่าย ประกอบด้วยสภาความมั่นคงแห่งชาติที่จะขับเคลื่อนระดับนโยบาย หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจรับผิดชอบในระดับปฏิบัติ สำหรับการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินการนั้น ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม องค์กรศาสนา องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ จะเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกันดำเนินงานอย่างจริงจัง เพื่อให้สังคมไทยมีความเข้มแข็งเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเป็นการสร้างสังคมไทยให้เข้มแข็งเพื่อให้ประเทศชาติมีความมั่นคงต่อไป

Advertisement

รมว.กลาโหม รับเสียใจคดีตากใบ ย้ำให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม บูรณาการทุกภาคส่วน ลดความรุนแรงในพื้นที่

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 4 ตุลาคม 2567 รองนรม./รมว.กห.เสียใจกับคดีตากใบพร้อมย้ำให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมและบูรณาการทุกภาคส่วน ลดความรุนแรงในพื้นที่

พลตรี ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 67 ช่วงเที่ยงที่ผ่านมาว่า ตามที่มีกระทู้ถามสดจากนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ได้ตั้งกระทู้ถาม นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนรม./รมว.กห. ถึงการดำเนินคดีกับผู้ทีเกี่ยวข้องเหตุการณ์ตากใบซึ่งจะหมดอายุความในวันที่ 25 ต.ค.67นั้น ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว รองนรม./รมว.กห. ได้ชี้แจงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าท่านเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นและจากการตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าวมีรายละเอียด ที่ต้องพิจารณาหลากหลายมิติทั้งการลำเลียงคนและการจัดระเบียบผู้ชุมนุม ซึ่งไม่ได้มีเจตนาจะทำให้เกิดเหตุการณ์ที่กระทบต่อความสูญเสีย จากสถานการณ์ในขณะนั้นมีความสับสนอลหม่านต่อการปฏิบัติเพราะมีผู้ชุมนุมเป็นจำนวนมาก หากไม่มีการแยกย้ายอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตทรัพย์สินผู้ชุมนุมในภาพรวมมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ได้มีการเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียโดยผู้เสียชีวิตได้รับเงินจำนวน 7 ล้านบาทเศษและผู้ได้รับบาดเจ็บจะได้รับเงินลดหลั่นกันลงไป ซึ่งได้ดำเนินการแล้วในรัฐบาลของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีต นรม./ รมว.กห.

ต่อเรื่องดังกล่าวการดำเนินการเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม สำหรับผู้ต้องหาทั้งหมดที่ยังหาตัวไม่พบให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินการ ในส่วนของผู้ถูกกล่าวหาที่ยังไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ก็จะต้องนำตัวเข้ามาต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมต่อไป

สำหรับกรณีเหตุการณ์ตากใบ ที่ผ่านได้มีการถอดบทเรียนและนำมาปรับใช้เป็นวิธีการปฏิบัติไม่ใช่อารมณ์ในการแก้ไข ควรใช้บทเรียนในการสร้างสรรค์แก้ไขปัญหา ต้องใช้สติไม่ใช้อารมณ์ มาทำลายกันด้วยอารมณ์ที่รุนแรง ควรนำบทเรียนมาปรับวิธีการทำงานให้กับพี่น้องประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินกับประชาชนในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (อ.จะนะ อ.นาทวี อ.เทพา และอ.สะบ้าย้อย) ทั้งการปรับวิธีคิดและวิธีการต่าง ๆ ไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก และการสนับสนุนให้ลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วยการเจรจาอย่างสันติวิธี

ที่ผ่านมา อาจมีบางกลุ่มได้นำประเด็นดังกล่าวมาสร้างเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งมากกว่าที่จะช่วย กันแก้ไข เพื่อสร้างความแตกแยกและโจมตีรัฐบาลจนทำให้ประชาชนในพื้นที่สับสนจากความเป็นจริง โดยที่ผ่านมารัฐบาลพยายามปรับวิธีการนำไปสู่สันติสุข อย่างไรก็ตามยังคงมีปัญหาที่เกิดขึ้นอันเกิดจากความหลากหลายมิติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ปัจจุบันในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้ และ 4 อำเภอของสงคราม (อ.จะนะ อ.นาทวี อ.เทพา และ อ.สะบ้าย้อย) พยายามลดความรุนแรงจะการก่อเหตุ โดยมีการบูรณาการการทำงานของทุกส่วนราชการทั้ง กอ.รมน., ศอ.บต. , เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและหน่วยงานราชการในพื้นที่ร่วมกันหาทางออกและทำงานอย่างประสานสอดคล้อง โดยจะนำบทเรียนจากเหตุการณ์ตากใบมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สร้างสันติสุขให้กลับมา และทำให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวและเขตเศรษฐกิจในการสร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นตามลำดับ

Advertisement

 

รัฐบาล-กทม.พร้อมทำงานร่วมกันเพื่อ ปชช.

People Unity News : 17 มิถุนายน 2565 นายกฯ จับมือ “ชัชชาติ” ถ่ายรูปหลังแถลง ศบค. ย้ำพร้อมทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่เพื่อประชาชน ประเทศต้องเดินหน้าไปด้วยกัน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา ร่วมแถลงข่าวภายหลังการประชุม ศบค.ชุดใหญ่

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประชุมวันนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพื่ออนุมัติการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์โควิด-19 ทั้งในส่วนของผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อเริ่มลดลงแล้ว และเป็นโอกาสอันดีที่ได้พบปะกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและนายกเมืองพัทยา ซึ่งได้พูดคุยและยืนยันจะทำงานร่วมกันทุกเรื่อง ได้รู้จักกันดีทุกคนอยู่แล้ว ยืนยันไม่มีปัญหาในการทำงาน และช่วยกันทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั่วประเทศ วันนี้เชิญนายกเมืองพัทยามาเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยว ส่วนผู้ว่าฯ กทม.ต้องเข้าร่วมการประชุมตามวาระปกติอยู่แล้ว ทุกฝ่ายเข้าใจกันดี ไม่มีปัญหา เพราะวันนี้ประเทศต้องเดินหน้าไปด้วยกัน

นายชัชชาติ กล่าวว่า พร้อมทำงานร่วมกับรัฐบาลอย่างเต็มที่ ต้องทำงานร่วมกันอยู่แล้ว มติ ศบค.ผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่สะท้อนว่าสถานการณ์โควิดคลี่คลายลง และพร้อมร่วมทำงานกับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายปรเมศวร์ กล่าวว่า จากการประชุมได้รับทราบถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตอย่างดีที่สุด ซึ่งในส่วนของเมืองพัทยา ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยว การผ่อนคลายมาตรการต่างๆ จะนำเสนอผ่าน ศบค.ต่อไป

จากนั้นนายกรัฐมนตรี ได้เชิญนายชัชชาติและนายปรเมศวร์กลับขึ้นไปบนตึกไทยคู่ฟ้า และนำเดินชมภายในตึกภักดีบดินทร์และบริเวณโดยรอบ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ทำหน้าที่เป็นไกด์นำเที่ยว พร้อมชักชวนทุกคนร่วมรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน สนิทกัน พี่น้องกันทั้งนั้น จำได้ว่าเจอกันมานานแล้ว พร้อมชมนายชัชชาติว่า พอมาเจออีกทีแต่งเครื่องแบบดูหล่อ จากนั้นได้ถ่ายรูปร่วมกันบริเวณด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า โดยนายกรัฐมนตรีจับมือนายชัชชาติและนายปรเมศวร์ระหว่างถ่ายรูปด้วย

Advertisement

“เศรษฐา” ยันไม่ล้มพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 28 กุมภาพันธ์ 2567 เบตง – “เศรษฐา” ยืนยันไม่ล้มการพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้ หลังครบ 11 ปี จากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่พามาเที่ยวเพื่อสร้างโอกาส และย้ำว่ารัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับ จชต. เผยนัดกับนายกฯ มาเลเซียมาเที่ยวด้วยกัน แต่ติดภารกิจ หวังพบกันปีหน้า

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่วันนี้ครบรอบ 11 ปี การพูดคุยสันติภาพ ที่เริ่มต้นจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการลงนามในข้อตกลงทั่วไประหว่างคณะพูดคุยเพื่อสันติภาพของไทยกับขบวนการบีอาร์เอ็นเมื่อวันที่ 28 ก.พ.2566 จนมีการเปลี่ยนรัฐบาลมาเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็มีการพูดคุยต่อเนื่องจนถึงรัฐบาล นายเศรษฐา ที่คณะพูดคุยเพื่อสันติสุข ได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการสันติสุข JCPP กับขบวนการบีอาร์เอ็น ซึ่งจะมีการหาข้อสรุปในการหยุดยิง การปรึกษาหารือสาธารณะ และการแสวงหาทางออกทางการเมือง โดยตั้งเป้าให้มีการหยุดยิงภายในปี 2567

นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าการพูดคุยเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังดำเนินการตลอด แต่การลงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ครั้งนี้ มีความตั้งใจที่จะพูดเรื่องโอกาส และอนาคตที่ดีที่รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยืนยันว่า การพูดคุยไม่ล่ม ส่วนจะมีการยกเลิก พรก.ฉุกเฉินหรือไม่ เป็นเรื่องที่ฝ่ายความมั่นคงจะพิจารณา

“มาวันนี้ไม่อยากพูดเรื่องความไม่มั่นคง อยากพูดเรื่องโอกาสและศักยภาพ อยากให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันว่า พี่น้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ได้รับความเท่าเทียมกับเรา ที่ผ่านมารัฐบาลมีงบประมาณมาที่นี่มากใส่เงินไปแล้ว ไม่สำเร็จเท่าการใส่ใจ”

นายเศรษฐา เปิดเผยด้วยว่า การลงพื้นที่มาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 วัน 2 คืน มีความประทับใจมาก และดีใจที่เป็นนายกรัฐมนตรีในรอบ 10 ปีที่มานอนค้างคืน ถือเป็นการแสดงเจตจำนงว่ารัฐบาลชุดนี้จะนำความเสมอภาค ความเท่าเทียมและโอกาสมาที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ขอให้ไว้วางใจรัฐบาลนี้ ซึ่งอีกไม่นานจะเริ่มเข้าเดือนรอมฎอนแล้ว ก็จะถือศีลอด อดทน อดกลั้นไปด้วยกัน รัฐบาลจะเชื่อมประชาชนกับประชาชนทั่วประเทศ มาให้ความสำคัญกับโอกาสกับพี่น้องใน จชต. ส่วนความมั่นคงที่ผ่านมา 1 ปี ฝ่ายความมั่นคงก็ทำงานมาด้วยดี ความรุนแรงลดลงไปเยอะมาก จึงอยากเห็นทุกคนมีเงินในกระเป๋าด้วย เชื่อว่า ถ้าเศรษฐกิจดี การศึกษาดี ทุกคนได้รับสิทธิที่เท่ากัน ความสงบสุขก็เกิดขึ้น

นายกรัฐมนตรี เปิดเผยด้วยว่า เดิมได้นัดหมายกับนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มาเที่ยวด้วยกันที่ อ.เบตง จ.ยะลา แต่นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ติดภารกิจที่ออสเตรเลีย มีการหารือทวิภาคกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งมีการส่งภาพถ่ายมายืนยันว่าไม่ได้เบี้ยว และหวังว่าในปีหน้าจะมาเที่ยวด้วยกัน ซึ่งมาเลเซียก็มีความตั้งใจดีที่จะช่วยแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยซึ่งประชาชนสองประเทศก็มีความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยม​

Advertisement

Verified by ExactMetrics