วันที่ 23 พฤศจิกายน 2024

ด่วน!! กรมอุตุฯออกประกาศเตือนฉบับที่ 3 พายุฤดูร้อนถล่มหลายจังหวัดภาคเหนือ-อีสาน-กลาง 3-7 พ.ค.นี้

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 2 พฤษภาคม 2567 กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือน พายุฤดูร้อนบริเวณไทยตอนบน ฉบับที่ 3 มีผลกระทบ 3-7 พ.ค.67 โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 3 มีผลกระทบในช่วงวันที่ 3-7 พฤษภาคม 2567

ในช่วงวันที่ 3–5 พ.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

วันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี

วันที่ 5 – 6 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 7 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด

Advertisement

ยันภัยแล้งปีนี้ไม่ขยายวงกว้าง ประกาศเขตภัยพิบัติแค่ 4 จังหวัด

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 29 เมษายน 2567 เลขาธิการ สทนช. ระบุภัยแล้งปี 67 ถือว่าไม่ขยายวงกว้าง โดยมีพื้นที่ที่ประกาศเขตภัยพิบัติแล้งเพียง 4 จังหวัด ส่วนสถานการณ์น้ำภาคตะวันออก ได้ประสานงานในการระบายน้ำให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ฤดูแล้งจะสิ้นสุดปลายเดือนเมษายนนี้ โดยสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวมปัจจุบัน ปริมาณน้ำรวม 55% ของความจุเก็บกักที่ 44,209 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้การ 35% หรือ 20,033 ล้าน ลบ.ม.

ขณะนี้มีอ่างเก็บน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่ง โดยในภาคเหนือคือ เขื่อนสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ เขื่อนจุฬาภรณ์ ภาคตะวันออกคือ เขื่อนคลองสียัด ภาคกลางคือ เขื่อนกระเสียว ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อยมี 85 แห่ง

ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศในปีนี้ น้อยกว่าปีที่แล้วอยู่ 2% ซึ่งนับว่า อยู่ในเกณฑ์ดี แม้ประเทศไทยจะมีฝนตกน้อยกว่าค่าปกติจากอิทธิพลของสภาวะเอลนีโญ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้วางแผนกักเก็บน้ำในช่วงต้นฤดูแล้งไว้ให้ได้มากที่สุดเพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูแล้ง รวมถึงสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนเนื่องจากมีโอกาสเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงได้ ดังนั้น จึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้ว ยังคงงดปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 โดยให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐที่จะประชาสัมพันธ์ช่วงเวลาส่งเสริมการเพาะปลูก เพื่อป้องกันปัญหาความเสี่ยงขาดแคลนน้ำซึ่งจะสร้างความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร

เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ภัยแล้งปีนี้ ไม่ขยายวงกว้าง ปัจจุบันมีพื้นที่ตามประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพียง 4 จังหวัดได้แก่ จ. กาญจนบุรี จ. ชลบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ และ จ. บุรีรัมย์ โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ การขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภคซึ่งหน่วยงานได้เร่งให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่

สำหรับสถานการณ์ในภาคตะวันออกซึ่งมีเกษตรกรในบางพื้นที่เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ได้หารือร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในการบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ จ. จันทบุรี ให้เพิ่มการระบายน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ทั้งนี้ แนวโน้มของปริมาณฝนจะเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือน พ.ค. เป็นต้นไป โดยกำชับให้ทุกหน่วยงานเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน ตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ซึ่งคาดว่า ช่วงปลายฤดู สภาวะลานีญาจะทำให้บางพื้นที่มีฝนตกมากกว่าค่าปกติ

ขณะที่กรมชลประทานเดินหน้าติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ดังนี้

– สำนักงานชลประทานที่ 9 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 14 นิ้ว (เพิ่มเติม) จำนวน 2 เครื่อง บริเวณ หมู่ที่ 7 ตำบลเขาสมิงและหมู่ที่ 8 ตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด

– สำนักงานชลประทานที่ 11 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ขนาด 12 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง บริเวณปลายคลองโซน 19 ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

– สำนักงานชลประทานที่ 15 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง บริเวณบ้านมะนาวหวาน ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ส่วนการกำจัดวัชพืชกีดขวางทางน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำมีดังนี้

– สำนักงานชลประทานที่ 10 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือ กำจัดวัชพืช บริเวณ ปตร.พระอินทราชา และ ปตร.กลางคลองหนึ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ รวมถึงรักษาความสะอาดและลดปัญหาน้ำเน่าเสีย บริเวณ คลองระพีพัฒน์แยกตก และคลองระบายน้ำที่ 1 ตำบลพยอม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นอกจานี้สำนักงานชลประทานที่ 16 สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ จำนวน 1 คัน ขนาด 6,000 ลิตร วันละ 3 เที่ยว เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการอุปโภค ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ทั้งนี้ กรมชลประทานดำเนินการกำจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาคุณภาพน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำและระบายน้ำ และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ พร้อมกับเน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทานบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ในการเข้าไปช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน

Advertisement

ข่าวดี แบงก์รัฐพร้อมใจลดดอกเบี้ยลง 0.25%

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 26 เมษายน 2567 สมาคมแบงก์รัฐ  ขานรับนโยบายรัฐ  ลดดอกเบี้ยลง 0.25% หวังช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบาง

ตามที่รัฐบาลโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบายช่วยเหลือบรรเทาภาระของลูกค้ารายย่อย และกลุ่มเปราะบาง  ผู้เดือดร้อนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ในขณะนี้นั้น

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ  เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 มีมติร่วมกัน ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบางตามนโยบายรัฐบาล โดยธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เอสเอ็มอี ดีแบงก์  เอ็กซิมแบงก์  และ บสย. ร่วมกันลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับลูกค้ารายย่อยทุกกลุ่มลงร้อยละ 0.25  อันได้แก่ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย (MRR – Minimum Retail Rate) อัตราดอกเบี้ยตามประกาศ (Prime Rate) และอัตรากำไรอ้างอิงสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (SPRR – Standard Profit Rate for Prime Retail Customer) เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นระยะเวลา 6 เดือน

ในขณะที่ ธ.ก.ส.  ร่วมลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบางลงร้อยละ 0.25  เป็นระยะเวลา 6 เดือนด้วยเช่นกัน เนื่องจากได้มีการพักชำระหนี้เกษตรกรไปแล้วก่อนหน้านี้

สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และธนาคารสมาชิกฯ ตระหนักถึงภาระต้นทุนทางการเงินของประชาชนและสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวในขณะนี้ โดยสมาคมฯ พร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการทางการเงินต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้น เพื่อบรรเทาภาระและช่วยเสริมสภาพคล่องในครัวเรือน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Advertisement

อุตุฯ เตือนไทยตอนบนร้อนจัด แนะเลี่ยงทำงานในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 25 เมษายน 2567 กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด แนะหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานาน ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กรุงเทพฯ-ปริมณฑล อากาศร้อนจัดบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย

ในขณะที่มีแนวสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

กรุงเทพฯ และปริมณฑล อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 28-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส

Advertisement

อุตุฯ เผยไทยตอนบนฝนฟ้าคะนอง ระวังลมแรงบางพื้นที่

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 22 เมษายน 2567 กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ส่วนไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง กรุงเทพฯ-ปริมณฑล อากาศร้อนจัด

กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย

ขณะที่มีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

กรุงเทพฯ และปริมณฑล อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 29-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส

Advertisement

ทั่วไทยร้อนถึงร้อนจัด สูงสุด 42 องศาฯ

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 19 เมษายน 2567 กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ภาคเหนือ-กลาง อุณหภูมิสูงสุด 42 องศาฯ

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค

ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน และการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี

พยากรณ์อากาศรายภาค

กทม.-ปริมณฑล : อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 28-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคเหนือ : อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น สกลนคร นครพนม และนครราชสีมา อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคกลาง : อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-42 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก : อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) : อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) : อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

Advertisement

ผลตรวจแคดเมียมที่บางซื่อ พบปริมาณสูงเกินเกณฑ์ แต่ไม่พบปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 12 เมษายน 2567 ผลตรวจพื้นที่ กทม. ไม่พบปนเปื้อนแคดเมียมในสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ เผยผลตรวจสอบจากการพบกากแคดเมียมและสังกะสี ที่เขตบางซื่อ พบปริมาณแคดเมียมสูงเกินเกณฑ์เฉพาะจากตัวอย่างดินในโรงงาน แต่ดินนอกโรงงาน แหล่งน้ำใกล้เคียง และไอระเหยในอากาศ ไม่พบปนเปื้อน เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) รายงานผลการตรวจสอบกรณีตรวจพบกากแคดเมียมและสังกะสี เก็บไว้ในโรงงาน ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ ซึ่งดำเนินการร่วมกับสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โดยพบการกองกากตะกอนแคดเมียมและสังกะสีภายในอาคารโรงงาน ตามการประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 จำนวน 99 ถุง คิดเป็นปริมาณ 150 ตัน กากตะกอนดังกล่าว ถูกยึดไว้เป็นของกลางในการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

ทั้งนี้ได้สุ่มเก็บตัวอย่างกากของเสียประกอบด้วย ดินในโรงงาน 2 ตัวอย่างและดินนอกโรงงานในเขตชุมชนช่วงระยะ 50 100 และ 500 เมตร 9 ตัวอย่าง เมื่อตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์แบบกระจายพลังงาน (Energy Dispersive X-Ray Fluorescence; EDXRF) พบว่า กากแร่มีปริมาณแคดเมียมสูงกว่าค่า TTLC ซึ่งถือเป็นของเสียอันตราย ดินในโรงงานพบการปนเปื้อนแคดเมียมสูงเกินเกณฑ์การปนเปื้อนในดินในโรงงาน ส่วนดินนอกโรงงานตรวจไม่พบการปนเปื้อนแคดเมียม

สำหรับผลการตรวจวัดไอระเหยสารเคมีในบรรยากาศ 3 จุดได้แก่ บริเวณภายในโรงงาน หน้าโรงงาน และชุมชนห่างจากโรงงาน 250 เมตร ตรวจไม่พบสารอันตรายในบรรยากาศ

จากการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งบริเวณลำรางภายในอาคาร 2 จุดและเก็บตัวอย่างน้ำผิวดินบริเวณโดยรอบพื้นที่โรงงาน 3 จุดพบว่าคุณภาพน้ำเบื้องต้นในทั้งสองจุดอยู่ในเกณฑ์ปกติเนื่องจากบริเวณเก็บกากแคดเมียมไม่มีกิจกรรมที่ใช้น้ำในการประกอบกิจการและไม่พบการประกอบกิจการ

ก่อนหน้านี้กรมควบคุมมลพิษได้ร่วมประชุมคณะกรรมการแก้ปัญหากากแคดเมียม 6 หน่วยงานตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษเป็นผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประชุมร่วมกับนายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายแพทย์ยงเจือ เหล่าศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม นายแพทย์สุรวิทย์ ศักดานุภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร กระทรวงสาธารณสุข พันตำรวจตรียุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พลตำรวจตรี วัชรินทร์ พูสิทธิ์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ผบก.ปทส.)

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมย้ำในที่ประชุมว่า ทั้ง 6 หน่วยงานจะร่วมกันแนวทางการดำเนินการกากแคดเมียม ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ตลอดตจนจะสื่อสารให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจอย่างถูกต้องว่า กากแคดเมียมที่จังหวัดตาก ได้มาจากการถลุงแร่สังกะสีซึ่งมีส่วนประกอบของแร่ทองแดงและแร่แคดเมียม ในเหมืองแร่ในจังหวัดตากซึ่งปิดตัวลงไปนานแล้วและฝังกลบอยู่ใต้ดินอย่างปลอดภัยในจังหวัดตาก กากแร่แคดเมียมที่พบ มีการปรับเสถียร ผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ซึ่งนิยมใช้แพร่หลายทั่วโลกในงานก่อสร้างเพื่อป้องกันการชะล้างและการฟุ้งกระจายในอากาศ

ขณะนี้ได้เจอกากแคดเมียมแล้ว กว่า 12,500 ตัน ในจังหวัดสมุทราสาคร จังหวัดชลบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร โดยจะสืบหากากแคดเมียมในส่วนที่ยังหาไม่พบ

ในการจัดการกับกากแคดเมียมที่พบ ได้มอบหมายกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่วางแผนและวางแนวทาง รวมถึงมาตรการป้องกันความปลอดภัยในการขนย้าย ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง และจัดเตรียมพื้นที่รวมถึงสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย ทั้งก่อนและหลังขนย้าย โดยมีแนวทางนำกลับไปฝังกลบที่บ่อเดิมในจังหวัดตากซึ่งเป็นบ่อซีเมนต์และปูด้วยพลาสติก High-Density Polyethylene: HDPE เป็นวัสดุพลาสติกที่ผลิตจากการพอลิเมอร์ไรเดอร์ในสภาวะแรงดันสูง หนา 1.5 มิลลิเมตร ตามที่การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment EIA) กำหนด

Advertisement

ทางการเมียนมาเปิดด่านเมียวดีชั่วคราว เร่งระบายรถบรรทุกสินค้าไทยตกค้าง

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 12 เมษายน 2567 ตาก – เมียนมา เปิดด่านพรมแดนถาวรเมียวดีแห่งที่ 2 ชั่วคราว เร่งระบายรถบรรทุกสินค้าจำนวนมากของไทย ด้านเจ้าหน้าที่ทหารไทยดูแลความปลอดภัย และตรวจสอบรถบรรทุกเข้มงวด

ช่วงเช้าที่ผ่านมา ด่านพรมแดนถาวรเมียวดีแห่งที่ 2 จังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมา มีคำสั่งเปิดด่านชั่วคราว เพื่อเร่งระบายรถบรรทุกสินค้าจำนวนมากของไทย ที่ตกค้างอยู่ในฝั่งเมียวดี หลังเมื่อวานนี้ มีการปิดด่านแบบฉุกเฉินจากสถานการณ์ความไม่สงบภายในจังหวัดเมียวดี ทันทีที่ประตูด่านเปิด มีขบวนรถบรรทุกสินค้าของไทย ทยอยขับข้ามสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่ 2 กลับมาฝั่งอำเภอแม่สอด แบบไม่ขาดสาย

ขณะที่บริเวณเชิงสะพานด่านพรมแดนแม่สอด มีเจ้าหน้าที่ทหารดูแลความปลอดภัย และตรวจสอบรถบรรทุกอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการลักลอบขนสิ่งของผิดกฎหมาย

Advertisement

ภาคเหนืออุณหภูมิสูงสุด 38-43 องศา

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 6 เมษายน 2567 กรมอุตุฯ รายงานทั่วไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด ภาคเหนืออุณหภูมิสูงสุด 38-43 องศาฯ เตือนช่วงวันที่ 8-11 เม.ย.67 ไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อาจมีฟ้าผ่าบางพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย ในขณะที่ลมใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย.67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมในบริเวณดังกล่าวมีกำลังอ่อน

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06.00 น. วันนี้ ถึง 06.00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคกลาง อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) อากาศร้อนโดยทั่วไปในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพฯ และปริมณฑล อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

Advertisement

ทั่วไทยร้อนถึงร้อนจัด แนะเลี่ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน

พีเพิล ยูนิตี้ นิวส์ : 2 เมษายน 2567 กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน แนะหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมในบริเวณดังกล่าวมีกำลังอ่อน

พยากรณ์อากาศรายภาค

กทม.-ปริมณฑล : อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 28-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคเหนือ : อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 20-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 40-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ภาคกลาง : อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 40-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก : อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) : อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) : อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา กระบี่ และตรัง อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

Advertisement

Verified by ExactMetrics